การวิเคราะห์องค์ประกอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี

Main Article Content

รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์
พรนภา ทะยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีทั้งหมด 4 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principle Component Analysis: PC) และใช้การหมุนแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method)


ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี จากตัวแปร 14 ตัวแปร มีค่าสถิติของไคเซอร์-ไมเยอร์-โอลติน (KMO) เท่ากับ 0.855 และค่าสถิติไคสแควร์ (gif.latex?X^{2}) ที่ใช้ในการทดสอบมีค่าเท่ากับ 4266.097 ทำการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal component analysis: PC) และใช้การหมุนแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) พบว่า ได้องค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ มีพิสัยของค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.128 ถึง 6.848 และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 79.480 ได้ทั้งหมด 4 องค์ประกอบ และเมื่อพิจารณาความเหมาะสมของค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เกินค่า 0.30 แล้วจะได้องค์ประกอบออกที่ใช้ได้จริงทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยสามารถอธิบายความหมายขององค์ทั้ง 4 องค์ประกอบได้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 คือ คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี องค์ประกอบที่ 2 คือ ลักษณะการจัดจำหน่าย องค์ประกอบที่ 3 คือ การประชาสัมพันธ์ องค์ประกอบที่ 4 คือ ราคาของผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี และจากการศึกษารูปแบบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าภูอัคนี เพื่อให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคพบว่า มุ่งเน้นในกลุ่มของเครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นเสื้อที่มีราคาอยู่ในช่วง 101-300 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chunsoon, S. (1993). Wisdom with rural development. Bangkok: Wisdom Foundation. [in Thai]

Department of Agriculture. (2010). Introduction to Local Wisdom. Bangkok: Department of Agricultural Extension. [in Thai]

Department of Tourism. (2016). Tourist statistics. Retrieved March 15, 2016, from https://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php [in Thai]

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Iamsum-ong, C. & Siltrakul, W. (1990). Folk wisdom Folk technology. Nonthaburi: Publisher Sukhothai Thammathirat University. [in Thai]

Keatvipak, K. (2016). Study and Development Applies Products from Cotton Hand Made to Products Design, Case Study: The Cotton Hand Weaving Groups at Donluang Village, Amphur Pasang, Lamphun Province. The Fine & Applied Arts Journal, 11(1), 13-51. [in Thai]

Muangchun, K. (2000). ASEAN Economic Crisis: Impact on the Thai Textile Industry. Bangkok: Thai Thesis. [in Thai]

Patimapornthep, K. (1998). The promotion of Thai wisdom in educational management. Bangkok: Pimdee. [in Thai]

Siriumphankul, P. (2005). The research project on tourist services to sell souvenirs in the South east. Bangkok: Thailand Research Fund. [in Thai]

Wasi, P. (1987). The creative wisdom, Thailand for development. Community development Journal, 1(5), 75. [in Thai]

Wattanapoot, C. (1997). Current Folk Knowledge System: Research and Development. Bangkok: Ethnic Studies and Development Project, Chulalongkorn University. [in Thai]