ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษา ระดับปริญญาตรี: การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด

Main Article Content

อังค์วรา วงษ์รักษา
ศิริชัย กาญจนวาสี
สิริรักษ์ รัชชุศานติ

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีการประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด รูปแบบการประเมินได้พัฒนาขึ้นเพื่อสนองตอบปัญหาและความต้องการสารสนเทศจากการประเมินหลักสูตร โดยใช้แนวคิดการประเมิน 1) Utilization-focused evaluation 2) CIPIEST model และ 3) Discrepancy evaluation ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำานวน 9 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลการวิพากษ์ แบบประเมินมาตรประมาณค่า 3 ระดับ และแบบประเมินมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นการประเมินทั้ง 60 รายการ มีความสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบการประเมินตามเกณฑ์การพิจารณาค่าดัชนี IOC ทุกรายการ 2) ด้านความเหมาะสมของรูปแบบการประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำาเข้า และองค์ประกอบด้านผลกระทบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ส่วนความเป็นไปได้ในการนำารูปแบบการประเมินไปใช้ก็มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเช่นกัน โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การเขียนรายงานการประเมินหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bledsoe, K. L. & Graham, J. A. (2005). The Use of Multiple Evaluation Approaches in Program Evaluation. American Journal of Evaluation, 26(3), 302-319.

Hansen, M. B. & Vedung, E. (2005). Evaluation of a Standardized Classification System. Odense, Denmark: Syddansk Universitesforlag.

Kanjanawasee, S. (n. d.). Curriculum Evaluation: Principles and Practices. Retrieved September 27, 2015, from http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/scan1.pdf [in Thai]

Kanjanawasee, S. (2019). Evaluation Theory (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Kanjanawasee, S. (2015). The Modified CIPP: Conception, Transformation, and Development. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 12(2), 11-20. [in Thai]

Kraikunasai, J., Chongcharoen, K., Ngudgratoke, S., & Pukchanka, P. (2017). A Causal Model of Administrative Factors Affecting Educational Quality in Vocational Schools. Panyapiwat Journal, 9(2), 171-184. [in Thai]

Office of Higher Education Commission. (2014). Handbook of Internal Education Quality Assurance: Higher Education Bangkok: Parbpim Co., Ltd. [in Thai]

Ornstein, A. C. & Hunkins, F. (2004). Curriculum foundations: Principles and theory (4th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Pantrakool, S., Tumnanchit, B., & Pijitkamnerd, B. (2019). The Evaluation of the Library and Information Sciences Curriculum for the Essential Skills Development of the Librarians in the 21st Century. Panyapiwat Journal, 11(1), 221-233. [in Thai]

Patton, M. Q. (2013). Utilization–Focused Evaluation (U-FE) Checklist. Retrieved December 23, 2016, from https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014 UFE_checklist_2013. pdf

Patphol, M. (2015). Curriculum Assessment for Learning and Development (3rd ed.). Bangkok:

Charansanitwong Printing Co., Ltd. [in Thai]

Provus, M. (1971). Discrepancy Evaluation for Educational Program Improvement and Assessment. Berkeley, California, U.S.: McCutchan Pub. Corp.

Ritjaroon, P. (2015). Curriculum Evaluation: Approaches, Procedures, and Its Utility. STOU Education Journal, 8(1), 13-28. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2003). Curriculum Development and Curriculum Research. Bangkok: Suweerisarn. [in Thai]

Stufflebeam, D. L. (2007). CIPP Evaluation Model Checklist: A Tool for Applying the CIPP Model to Assess Projects and Programs. Retrieved August 31, 2019, from https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07.pdf