ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัยการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์
พิศมัย จารุจิตติพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินงานของ วิทยาลัยการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถาบันอาชีวศึกษาที่ได้รับการประเมิน คุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) สมศ. รอบ 3 (ปี พ.ศ. 2554-2558) จำนวน 760 วิทยาลัย ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. รอบ 3 (ปี พ.ศ. 2554-2559) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.80 เปิดสอนทั้งหลักสูตร ปวช. และปวส. ร้อยละ 82.37 มีครูจำนวนน้อยกว่า 80 คน วิทยาลัยที่มีครูจำนวน 240 คนขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 0.39 จำนวน ผู้เรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.92 ศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดเล็ก (มีผู้เรียนน้อยกว่า 1,000 คน) รองลงมา ร้อยละ 26.45 ศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดกลาง (มีผู้เรียน 1,001-2,000 คน) และร้อยละ 18.63 ศึกษา ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ (มีผู้เรียน 2,001 คนขึ้นไป) จำนวนวิทยาลัยอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 39.87 อยู่ภาคกลาง รองลงมา ร้อยละ 26.05 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.08 อยู่ในภาคเหนือ และ ร้อยละ 15.00 อยู่ในภาคใต้ ตามลำดับ คุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัยการอาชีวศึกษาแยกตามคุณภาพตัวบ่งชี้ สมศ. ภาพรวมอยู่ในระดับ พอใช้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณภาพตัวบ่งชี้มาตรฐานการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก คุณภาพตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ อยู่ในระดับพอใช้ และคุณภาพตัวบ่งชี้พื้นฐานอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ ส่วนคุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัย การอาชีวศึกษาแยกตามมาตรฐานกฎกระทรวง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการจัดการตามมาตรฐานกฎกระทรวง สามารถร่วมอธิบายคุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัยการ อาชีวศึกษา ในภาพรวม ได้ร้อยละ 74.00 (Adjusted R2 = .740) โดยปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการประกันคุณภาพภายในส่งผลทางบวกต่อคุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัยการ อาชีวศึกษา และพบว่า ปัจจัยการจัดการที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อคุณภาพโดยรวมของการดำเนินงานของวิทยาลัย การอาชีวศึกษาคือ การประกันคุณภาพภายใน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amuayrat, S. (2012). Model Development for Quality Management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission. Journal of Education Naresuan University, 14(3), 20-24. [in Thai]

Phetkong, P. (2017). Preparation of Educational Institutions for Entering into the ASEAN Community. Retrieved November 12, 2019, from http://www.rtc.ac.th/www.km/03/03 14/0314241 153.pdf [in Thai]

The Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2019). External Quality Assessment. Retrieved December 8, 2019, from http://www.onesqa.or.th/th/profile/874/ [in Thai]

The Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2013). The Manual of Assessor for Vocational Education three External Assessment. Bangkok: The Office for National Education Standards and Quality Assessment. [in Thai]

The Office of the Vocational Education Commission. (2015). Vocational Management According to the Vocational Education Act. Retrieved November 25, 2019, from http://www.ntc.ac.th/files/ 121105 141 42032380/files/rule_2551.pdf [in Thai]

Vongsakdaet, S. (2011). The Development of a Model to Promote the Success of Educational Administrators of Colleges under the Supervision of the Office of the Vocational Education Commission. Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 21(3), 676-678. [in Thai]