การพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการ สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุชรา แสวงสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะการจัดการกิจกรรมนันทนาการ ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการ สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรม นันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย แบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ท่องเที่ยวในชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนันทนาการ ด้านการท่องเที่ยว และด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากประธานชุมชน ชาวบ้านในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลการวิจัยพบว่า


ลักษณะการจัดกิจกรรมนันทนาการในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พบว่า จุดมุ่งหมายของกิจกรรมนันทนาการไม่ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบต่อวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นในบริเวณ แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมนันทนาการนั้นเหมาะสมกับเพศและวัย สถานที่และอุปกรณ์ที่เข้าร่วมกิจกรรม นันทนาการมีความสวยงามหรือชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม ชุมชนมีการสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้จัดกิจกรรม กับนักท่องเที่ยว ในปัจจุบันกิจกรรมนันทนาการนั้นยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วม โดยมี การจัดเตรียมฝ่ายพยาบาล หรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับนักท่องเที่ยวที่บาดเจ็บ และผลที่ได้รับ จากการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของกิจกรรมนั้นๆ


รูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและสภาพปัญหาในการจัดกิจกรรม นันทนาการ จากนั้นทำการปรับปรุงตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ประเมินความเหมาะสมรูปแบบ การจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอน ที่ 1 การกำหนดกิจกรรมนันทนาการ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบกิจกรรมนันทนาการ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินกิจกรรมนันทนาการ ขั้นตอนที่ 4 ควบคุมการดำเนินกิจกรรมนันทนาการ และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล การจัดกิจกรรมนันทนาการ โดยในทุกขั้นตอนนั้นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน


ผลการประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยว โดยชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ จึงยอมรับรูปแบบดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bangkok Metropolitan Administration. (2013). Thonburi Guide. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press. [in Thai]

Bunnag, P. (2010). A Past of Thonburi. Bangkok: Thanprinting. [in Thai]

Chemnasiri, N. (2012). Agro-Tourism Site Development. Nakhon Pathom: Physics Center. [in Thai]

Eamarun, K. (2000). Thonburi Side. Bangkok: Sarakadee Publishing. [in Thai]

Gulthawatvichai, T. (2008). Recreation Leadership. Bangkok: School of Sport Science, Chulalongkorn University. [in Thai]

Gulthawatvichai, T. (2011). Recreation. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Jittangwattana, B. (2013). Tourism Industry (2nd ed.). Nonthaburi: Dharmasarn. [in Thai]

Jittangwattana, B. (2014). Sustainable Tourism Development (2nd ed.). Nonthaburi: Dharmasarn. [in Thai]

Karnjanakit, S. (2003). Recreation Principles. Bangkok: School of Sport Science, Chulalongkorn University. [in Thai]

Keawprapassorn, P. & Sawangsuk, N. (2016). Human Potential Development for Community-Based Tourism in District Thonburi Bangkok. Faculty of Management Science, Rajabhat Dhonburi University. [in Thai]

Kieovichai, K. (2014). Recreation Principles (3rd ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing House. [in Thai]

Koontz, H. D. (1972). Principle of Management. New York: Mc Graw-Hill.

Koontz, H. & Weihrich, H. (1988). Management. New York: McGraw-Hill.

Odjai, P. & Chitchang, K. (2015). Continuity and Change of Thai-Portuguese Culture: A Case Study of Santa Cruz (Gudichin) Community in Bangkok. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 4(1), 31-39. [in Thai]

Peathanhom, P. (2011). An Integrative Leadership Development Model for Administrators in Private Higher Education Institutions. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai]

Phueksuwan, K. (2016). Recreation Leader. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Rocharungsat, P. (2013). Community Tourism (2nd ed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Seyanont, A. (2017). Operations in the Tourism Industry. Bangkok: Se-education. [in Thai]

Siangarom, S. (2014). Industrial Design for Community: The Case Study of Tourism Promotion for Kudeejeen. Academic Journal of Architecture, 63(2), 135-150. [in Thai]

Tanopanuwat, S. (2017). Promotion of Community Based Tourism Management on the Route Cultural Tourism in Thonburi District, Bangkok. Office of Academic Resources and Information Technology, Rajabhat Dhonburi University. [in Thai]

The Thailand Community-Based Tourism Institute. (2017). Tourism Economic Review No.7. Retrieved January 21, 2020, from https://secretary.mots.go.th/ [in Thai]

Tongjam, S. (2007). Development of a Managerial Competency Development Model for Middle Level Administrators in Autonomous Universities. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai]

Wannathanom, C. (2009). Tourism Industry. Bangkok: Threelada. [in Thai]

Warakulwit, S. (2015). Tourism Industry. Bangkok: Wawwaw Printing. [in Thai]