แนวทางการวางแผนทางการเงินระดับครัวเรือนในชุมชนรอบพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

นิศานาถ มั่งศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางการเงินและแบบแผนการใช้จ่ายการเงินระดับครัวเรือนในชุมชนรอบพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา รวมทั้งศึกษากระบวนการวางแผนทางการเงินระดับครัวเรือนในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการวางแผนทางการเงินระดับครัวเรือนที่เหมาะสมกับชุมชนรอบพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา โดยใช้วิธีแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในชุมชนรอบพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา จำนวน 337 ราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 4 กลุ่มคือ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มตัวแทนชุมชน กลุ่มละ 10 คน    ส่วนกลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มบุคลากรภาครัฐ หน่วยงานในจังหวัด กลุ่มละ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยได้แนวทางการวางแผนและจัดทำแผนการเงินระดับครัวเรือนที่เหมาะสมกับชุมชนรอบพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา เรียกว่า แนวทาง S-A-V-E คือ มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ต้องการอะไรตามหลักการ (Smart = S) มีการระบุสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัดเจน (Specific) สามารถวัดผลได้ (Measurable) ลงมือปฏิบัติได้จริง (Accountable) และมีเป้าหมายที่เป็นจริง (Realistic) ได้ มีกรอบระยะเวลา (Time Bound) ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งคนในชุมชนจะบรรลุเป้าหมายได้นั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude = A)      ในเรื่องของการวางแผนการออมเงิน การวางแผนลงทุน และมีการเพิ่มมูลค่าของเงินออม (Value = V) โดยการนำเงิน ไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ยังต้องมีการประเมินผล (Evaluation = E) อย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Capital Market Knowledge Development Center Capital Market, Development Fund Institute Stock Exchange of Thailand. (2010). Basic Financial Planning. Bangkok: Department of Learning, The Stock Exchange of Thailand Building. [in Thai]

Danasirikul, S. (2002). Retired on the money. Bangkok: S. Asia Place. [in Thai]

Friedman, M. (2008). Theory of the consumption function. USA: Princeton university press.

Gitman, L. J. & Joehnk, M. D. (1999). Personal Financial Planning (8th ed.). USA: Harcourt Brace.

Hallman, G. V. & Rosenbloom, J. S. (2000). Personal Financial Planning. New York: McGraw-Hill.

Huai Bong Sub district Administrative Organization. (2012). Number of households in 2012. Retrieved June 10, 2012, from https://www.huaibong.go.th/condition.php

Inlakorn, S. (2005). Personal Finance. Bangkok: Kasetsart University Press. [in Thai]

National Accounts Office of the National Economic and Social Development Board (National Accounts). (2011). National Accounts. Retrieved June 15, 2012, from https://www.nesdb. go.th/ewt_dl_link.php?nid=5511

Nuntawisai, N. (2009). Comparison of household savings in agriculture and non-agricultural sector. Master of Economics of Management, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Prom-in, N. (2011). Savings behavior and factors affecting saving for old age living of farmer households, customers of bank for agriculture and co-operatives. Graduate Research Conference Sukhothai Thammathirat Open University. Phra Nakhon Si Ayutthaya, Thailand.

Ryan, J. S. (2008). Personal financial literacy. USA: Quebecor World Dubuque.

Saetim, S. (2017). Payment gateway: the heart of electronic commerce’s payment system. Panyapiwat Journal, 9(2), 254-266. [in Thai]

Sektrakul, K. (2010). Personal financial planning: when wealthy people. Nation is firm. Retrieved June 10, 2010, from https://www.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do? contentId=535 [in Thai]

Stock Exchange of Thailand and Association of Investment Management Companies. (2012). Saving and Investment. Retrieved June 9, 2012, from https://www.thaimutualfund.com/ AIMC/aimc_basicKnowledge.jsp?pg=4 [in Thai]

Wongchan, R. (2010). Personal Finance Management. Bangkok: Boonsiri Publishing. [in Thai]