พหุวัฒนธรรมศึกษากับครูพันธุ์ใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ทำการศึกษาในมิติของการจัดการศึกษากระแสหลักที่รัฐไทยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือใน การพัฒนาประเทศมายาวนาน โดยมีการเน้นนโยบายการจัดการศึกษาที่มีโครงสร้างหลักสูตรมาจากส่วนกลางที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและประเมินผล ซึ่งส่งผลต่อนักเรียนในบริบทห้องเรียนพหุวัฒนธรรมที่นักเรียนมีความแตกต่างหลากหลาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้สอดคล้องกับห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องเผชิญกับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมที่นักเรียนมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และการใช้ภาษา งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบพหุวัฒนธรรมศึกษาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้มีความรู้ความใจและความแวดไวต่อห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน ตลอดจนมีการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงในกลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชาติพันธุ์และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูพื้นราบ ใช้แนวคิดทฤษฎีการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโซเนีย นิโต้ เพื่อเป็นแนวทางเตรียมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้เข้าใจในแนวคิด วิธีปฏิบัติของการศึกษาพหุวัฒนธรรม ผลที่ได้พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีการบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอนบนฐานของสิทธิทางวัฒนธรรมในห้องเรียน ตลอดจนมีทัศนคติเชิงบวกและพฤติกรรมในการปฏิบัติได้ต่อนักเรียนห้องเรียน พหุวัฒนธรรมในรูปแบบที่ต่างกันและพบปัญหาในเรื่องนโยบาย วัตถุประสงค์การจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ ไม่เอื้อต่อการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแนวพหุวัฒนธรรมศึกษา จากข้อค้นพบของงานวิจัยจะเป็นแนวทางการเตรียมครูพันธุ์ใหม่สู่ห้องเรียนพหุวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ตลอดจนการสร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดและวิธีปฏิบัติของการศึกษาพหุวัฒนธรรมในห้องเรียนต่อไปในอนาคต
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Banks, J. A. (2014). An introduction to multicultural education. Boston: Allyn and Bacon.
Calderhead, J. (1989). Reflective Teaching and Teacher Education. Teaching and Teacher Education, 5(1), 43-51.
Farungsang, B. (2008). Multiculturalism in Southern Border Studies: A Guide to Educational. Journal of Education Prince of Songkla University Pattani Campus, 19(1), 1-14. [in Thai]
Ketmanee, C. (2004). Research report on multiculturalism in multidisciplinary society. Office of the National Culture Commission, Ministry of Education, Faculty of Education Chiang Mai University. [in Thai]
Leepreecha, P. (2007). Education and language in the Thai state-building process. Journal of Social Science Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University, 19(1), 278-305. [in Thai]
Nawarat, N. (2008). Globalization: Economic, State and Education. Chiang Mai: Good Prince Publishing. [in Thai]
Nieto, S. (2007). School reform and student learning: A multicultural perspective. In J. A. Banks (Eds.). Multicultural education: Issues and perspective. Hoboken, NJ: John Wiley and Sons.
Office of the Education Council, The Ministry of Education. (2006). Educational Administration Practices of Educational Institution Juristic Persons under the Educational Service Area. Bangkok: Printing House of the National Buddhism. [in Thai]
Ongsakul, S. (2008). Study in Thai society: Historical dimension. Basic Textbook Project Department of Basic Education, Faculty of Education, Chiang Mai University. [in Thai]
Pochanukul, W. (2008). Multicultural. Retrieved July 20, 2018, from https://www.gotoknow.org/ posts/373642 [in Thai]
Randall, M. & Thornton, B. (2001). Advising and supporting teachers. Cambridge: Cambridge University Press.
Thomas, E. (1997). Developing a culture-sensitive pedagogy: Tackling a problem of melding “global culture” within existing cultural contexts. International Journal of Educational Development, 17(1), 13-26.
Yongyown, B. & Padungpong, C. (2007). Use of art activities to promote cultural diversity. In multicultural society. Journal of Education Prince of Songkla University, 18(1), 1-14. [in Thai]