การศึกษาแนวคิดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้สอนวิชาภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวคิดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้สอนวิชาภาษาต่างประเทศ (สาขาภาษาจีน) นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำสมรรถนะมาตรฐานอาชีพผู้สอนภาษาจีนของประเทศไทย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารเพื่อนำไปพัฒนาและกำหนดเป็นแนวทางการจัดทำมาตรฐานของประเทศไทย โดยดำเนินการศึกษาแนวคิดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ผู้สอนภาษาจีนของต่างประเทศ และคัดเลือกประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนามาตรฐานของประเทศไทย จากการศึกษาผู้วิจัยได้เลือกประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศเจ้าของภาษาโดยตรง และมีการประกาศใช้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ผู้สอนภาษาจีนอย่างเป็นทางการและมีความเป็นสากล และประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีแนวทาง การจัดทำมาตรฐานที่น่าสนใจ รวมถึงมีบริบทที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยจากการสังเคราะห์แนวทางของทั้ง 3 ประเทศ พบว่า สมรรถนะที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพผู้สอนภาษาจีนของประเทศไทย ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ คือ 1) ความรู้พื้นฐานภาษาจีน 2) ความรู้ความสามารถในการสอนและถ่ายทอดความรู้ 3) ความสามารถด้านการจัดการชั้นเรียนและวัดประเมินผล และ 4) จรรยาบรรณความเป็นครูและการพัฒนาวิชาชีพ
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Australian Federation of Modern Language Teachers Associations: AFMLTA. (2008). Professional Standards for Accomplished Teaching of Languages and Cultures, Language Specific Annotations:Chinese. Retrieved September 5, 2018, from http://pspl.afmlta.asn.au/doclib/ annotation_chinese.pdf
BBC. (2008). Teaching Chinese in UK. Retrieved October 3, 2018, from http://www. bbc.co.uk/ china/studyintheuk/qanda/story/2008/08/080818_teachchinese.shtml
Chalermchai, U. (2010). Chinese Language Teaching Promotion: Chinese Language Teaching Situation of High Schools in Chiangmai.Retrieved May 15, 2018, from http://www. vajiravudh.ac.th/KM/Vichakarn-Document/teaching-doc/ [in Thai]
Chinese Language Association of Secondary-Elementary Schools (CLASS). (2009). Chinese Language Teaching in America: K-12 Chinese Flagship Program. Retrieved from December 20, 2018, from https://classk12.org
Goh, K. C. & Lee, O. K. (2008). The Professional Qualifications for Teachers in Singapore: Teachers’ Morality Assessment, Knowledge Perceptions and Teaching Skills. National Institute of Education, Nan Yang Technological University, Singapore.
Korea Institute for Curriculum and Evaluation. (2016). Chinese Language Curriculum and Teaching Situation in South Korea. Retrieved September 6, 2018, from http://kice.re.kr/ sub/info.do?m=010602&s=kice.s
Lee, L. C., Lin, Y. L. & Su, C. W. (2007). CLASS Professional Standards for K-12 Chinese Language Teachers. National East Asian Languages Resource Center, The Ohio State University, America.
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology Japan. (2017). The Society of Chinese Proficiency Testing in Japan. Retrieved September 4, 2018, from http://www. mext.go.jp/a_menu/shotou/kyoin/daigaku/detail/1287070.htm
Office of Global Mandarin Education. (2016). Taiwan's National Standardized Test for Chinese Language Proficiency, Test of Chinese as a Foreign Language: TOCFL. Retrieved October 20, 2018, from http://www.tw.org/tocfl/
Terng, H. F. (2014). A Study of Teachers’ Competency Standards and Teaching Mandarin as a Second Language in Malaysian Public University. University Tunku Abdul Rahman, Malaysia. [in Chinese]
Thailand Professional Qualification Institute: TPQI (Public Organziation). (2014). Professional standards. Retrieved January 5, 2019, from https://www.tpqi.go.th/2019/standard.php [in Thai]
The Office of Chinese Language Council International (HANBAN). (2007). Standards for Teachers of Chinese to Speakers of Other Languages. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press. [in Chinese]
The Office of Chinese Language Council International (HANBAN). (2012). Standards for Teachers of Chinese to Speakers of Other Languages (Revised Edition). Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press. [in Chinese]
Wasinanon, N. (2016). The Study of Thailand’s Systematic Chinese Teaching Management if Higher Education. Chinese Studies Journal Kasetsart University, 9(2), 263-287. [in Thai]