การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการใช้คำลักษณนามภาษาจีนกลางในด้านโครงสร้างไวยากรณ์ของนักศึกษาชาวไทย และข้อเสนอแนะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดการใช้คำลักษณนามที่ใช้ประกอบคำนามในภาษาจีนกลางของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี จำนวน 54 คน โดยศึกษาข้อมูลจากการรวบรวมแบบฝึกหัดและการบ้านในชั้นเรียน
การวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 มีข้อผิดพลาดเรียงลำดับรูปโครงสร้างประโยคมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 15.32 และ 9.78 ผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดรองลงมาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คือ เกิดจากคำขาดหรือการตกหล่นคิดเป็นร้อยละ 5.65 และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้คำเกินคิดเป็นร้อยละ 3.38 ผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดรองลงมาของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้คำเกิน คิดเป็นร้อยละ 3.47 และข้อผิดพลาดที่เกิดจากคำขาดหรือคำตกหล่นคิดเป็นร้อยละ 1.73 ดังนั้น ข้อผิดพลาด ทางไวยากรณ์คือ ข้อผิดพลาดที่สำคัญอันเป็นอุปสรรคในการเรียนภาษาจีนกลาง
นอกจากนั้นข้อผิดพลาดข้างต้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดการถ่ายโอนของภาษา ซึ่งมีอิทธิพลในการใช้ ภาษาที่มาจากความเหมือนหรือความต่างระหว่างภาษาแม่กับภาษาที่สอง จากการค้นพบระดับความยากของโครงสร้างไวยากรณ์คำลักษณนามจีนที่สามารถแทรกคำคุณศัพท์ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้อาจารย์ผู้สอนสามารถนำเสนอแนวทางการสอนเชิงเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของรูปโครงสร้างแทรกคำคุณศัพท์ระหว่างภาษาไทยและภาษาจีนกลาง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างภาษาจีนกลางมากยิ่งขึ้น
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Chen, X. (2012). Cong Duiwai Hanyu jiaoyu xianzhuang kanqi fazhan qushi (From the Current Situation of Foreign Language Education and its Development Trend). School of Literature, Southwest University. [in Chinese]
Fan, X. (2009). Hanyu he Taiyu getiliangci duibi yanjiu (A comparative Study on classifiers of Chinese and Thai). Doctor’s thesis, Beijing Language and Culture University. [in Chinese]
Gass, S. & Selinker, L. (2008). Second Language Acquisition: An Introductory Course. New York: Routledge/Taylor and Francis Group.
Sodsonghrit, M. (2015). Zhuang Language: Chinese Scholars’ Perspective on Thai language in China. Cultural Approach, 15(28), 68-81. [in Thai]
Tungsirivat, K. (2017). Learning Chinese for pragmatics of student teaching Chinese as a foreign language Faculty of Education Silpakorn University. Verridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 582-591. [in Thai]
Wang, L. (1985). Zhongguo Xiandai Yufa. Jinan: Shandong Education Press. [in Chinese]
Xun, L. (2009). Duiwai Hanyu jiaoxue yinlun (A Introduction to Teaching Chinese as a Second Language). Beijing: Beijing Language and Culture University Press. [in Chinese]