องค์ประกอบเชิงยืนยันของกลยุทธ์การตลาดสู่ความปกติในรูปแบบใหม่ หลังสิ้นสุดการระบาดของไวรัส COVID-19

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดหรือผู้รับผิดชอบ การตลาดขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยสู่ความปกติในรูปแบบใหม่หลังสิ้นสุดการระบาดของไวรัส COVID-19 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของกลยุทธ์การตลาดสู่ความปกติในรูปแบบใหม่หลังสิ้นสุดการระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารการตลาด เจ้าหน้าที่การตลาดที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนสถิติที่ใช้การวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)


ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะพื้นฐานขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทอยู่ในหมวด อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์การตลาดหลังสิ้นสุด การระบาดของไวรัส COVID-19 มากที่สุด ได้แก่ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล กลยุทธ์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล และกลยุทธ์การโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล โดยองค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร มีค่า χ2/df = 1.56, P = 0.815, GFI = 0.989, AGFI = 0.966, NFI = 0.978, IFI = 0.988, CFI = 0.984, RMR = 0.003, RMSEA = 0.012 เป็นค่ามาตรฐานสูงซึ่งแสดงว่า รูปแบบการวัดองค์ประกอบเชิงยืนยัน ของตัวแปรกลยุทธ์การตลาดสู่ความปกติในรูปแบบใหม่หลังสิ้นสุดการระบาดของไวรัส COVID-19 มีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Andreassen, T. W., Lervik-Olsen, L., & Calabretta, G. (2015). Capabilities for Managing Service

Innovation towards a Conceptual Framework: Trend Spotting and Service Innovation.

Journal of Service Theory and Practice, 25(4), 10-30.

Bauer, H., Barnes, S., Reichardt, T., & Neumann, M. (2005). Driving Consumer Acceptance of

Mobile Marketing: A Theoretical Framework and Empirical Study. Journal of Electronic

Commerce Research, 6(3), 181-192.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2017). Marketing Management. Boston: McGraw-Hill.

Hertog, P. (2015). Knowledge-Intensive Business Services as Co-Producers of Innovation.International Journal of Innovation Management, 4(4), 491-528.

Kotler, P (2018). Marketing Management Analysis, Planning and Control (17th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

KTB Research Center. (2020). KTB Research Center: GDP 3 Factors Driving the Economy to the New Normal Era, the Digital State of Health. Retrieved July 6, 2020, from https://

brandinside.asia/krung-thai-compass-gdh-drive-economy-in-new-normal-era/

Mote, R. (2020). COVID-19 Corona Virus. Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital Mahidol University.

Rajraksa, S. (2020). Covid Creates New Economic Normalization to a Turning Point Global Supply Chain. Retrieved May 5, 2020, from https://www.bangkokbiznews.com/news/

detail/875619

Royal Institute. (2020). New Terminology. Retrieved July 6, 2020, from http://www.royin.go.th/dictionary

Schutte, H. & Ciarlante, D. (2016). Consumer Behaviour in Asia (4th ed.). Hampshire and London: Mcmillan.

The Information Center for COVID-19. (2020). Report of Viral Infection COVID-19. Retrieved April 7, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=vW0NlOWFEBg

The Stock Exchange of Thailand. (2020). Summary of Securities and Listed Companies. Retrieved May 5, 2020, from https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do

Wanitbuncha, K. (2014). Structural Equation Modeling Analysis by AMOS. Bangkok: Chulalongkorn University Press.