นํ้าในวิถีชีวิตชุมชนริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สำราญ จูช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของนํ้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับ วิถีชีวิตในมิติแห่งความสุข โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เป็นบุคคลสำคัญ มีชื่อในทะเบียนราษฎร์และเป็น หัวหน้าครอบครัวที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน และเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่เป็นผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน พบว่า 1) นํ้ามีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาวิถีชีวิตชุมชนริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรี ด้านธรรมชาติที่สัมพันธ์กับ อาชีพ ด้านความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาลที่สัมพันธ์กับชะตาชีวิตคน ด้านศาสนา ความศรัทธาเชื่อในความ ผูกพันที่มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวภายใต้นํ้าใจต่อกัน ด้านวัฒนธรรมประเพณีมีความพึงพอใจประเพณี ทางนํ้าที่เกี่ยวข้องเป็นภูมิปัญญาในวิถีชีวิต 2) นํ้ามีความสัมพันธ์กับมิติแห่งความสุขในวิถีชีวิต ด้านความยืนยาว ในชีวิตมากที่สุด ด้วยมีความสุขจากสังคมรอบข้าง รองลงมาเป็นมิติแห่งความสุข ด้านความพอใจในชีวิตที่พอเพียง แบบดั้งเดิม และมิติแห่งความสุข ด้านการมีประเพณีทางนํ้าที่หลอมรวมให้กลมกลืนกับธรรมชาติที่มีอยู่ของชุมชน ริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aeusrivongse, N. (2016). Thai Non-thainess. Bangkok: Matichon Publishing House. [in Thai]

Apakaro, S. (2010). Networks: Nature, Knowledge and Management (3rd ed). Bangkok: Learning and Empowerment for Healthy Communities Project (LCHCP). [in Thai]

Bangkhanoon Subdistrict Administration Organization. (2019). Bang Kruai District: Community Survey Report. Nonthaburi Province: Bangkhanoon. [in Thai]

Bureau of the Royal Household. (2019). The Sacred Water: The Royal Coronation Ceremony B.E. 2562. Bangkok: Department of Local Administration, Ministry of Interior. [in Thai]

Cronbach, L. J. (1972). Essential of Psychological Testing (3rd ed). New York: Harper and Row Publisher.

Juchooy, S. (2012). The People’s Way of Life in Upper klong Bangkok Noi Community Nonthaburi Province with Philosophy of Sufficiency Economy Concept (Research Report). Nonthaburi, Rajapruk Univeristy.

Juchooy, S. (2018). Knowledge Management for Sufficiency Economy to Develop Life Skills. Panyapiwat Journal, 10(1), 176-186. [in Thai]

Jumsai Na Ayudhaya, S. (2016). Water the Source of Thai Culture (3rd ed.). Bangkok: NSP Printing Group. [in Thai]

Karnjanapun, A. (2014). Rights to Access Resources: In the Resource Management Project Set. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]

Monyupanao, A. & Zumitzavan, V. (2019). The Guidelines for Developing a Happiness in the Organization: A Case Study from Military Unit. Panyapiwat Journal, 11(1), 14-24. [in Thai]

Ongkasing, C. (2013). Village Health Volunteers: Potentials and Roles in the Changing Contexts. Nonthaburi Province: Health Systems Research Institute. [in Thai]

Panchaowna, P. (2008). The Way of Life of Khon Song Nam in Ranong Province. Suratthani Rajabhat Journal, 15(2), 97-109. [in Thai]

Phlainoi, S. (2010). 100 The Past (Update ed.). Bangkok: Satapornbooks Co., Ltd. [in Thai]

Phlainoi, S. (2017). Life Along the Canal. Bangkok: Satapornbooks Co., Ltd. [in Thai]

Sanguansangu, N. (2002). Rice Culture in Thai Society: Existence and Change. Bangkok: Chulalongkorn University.

Tansuchat, R. (2016). Index of Happiness and Well-being of the Population San Sai District. Chiang Mai: Faculty of Economics Maejo University.

Thongdee, A. (1999). Natural Heritage and Folk Wisdom Language and Culture Documentation, Phorphop 511. Bangkok: Sahamick.

World Health Organization. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion. Geneva: World Health Organization.