การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) ศึกษาระดับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหาร ความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1 และ 4) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การบริหาร ความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก (rxy = .608) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารทั้ง 5 ด้าน ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถพยากรณ์ สุขภาพองค์การของโรงเรียนได้ร้อยละ 73.00 เขียนเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z = .369 (X2) + .251 (X5) + .252 (X3) - .122 (X1) + .094 (X4)
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 1. (2019). Action Plan The Fiscal Year 2019. Chachoengsao: Policy and Planning Office Group. [in Thai]
Dalert, K. (2012). Factors Affecting Organizational Health of Schools under Municipality Authority in Provincial Administrative Organization on the Top of North Eastern Thailand.
The Dissertation of Master of Education Program in Educational Administration, UdonThani Rajabhat University. [in Thai]
Hoy, W. K. & Sabo, D. (1997). Quality Middle Schools: Open and Healthy. Thousand Oaks, CA: Sage.
Kenneth, W. (1979). Theory of International Politics. Reading, MA: Addison-Wesley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mescon, M. H., Albert, M., & Khedouri, F. (1985). Management: Individual and Organizational Effectiveness. New York: Harper & Row.
Moohamat, P. (2014). A Methods of Conflicts Management of Administrators Affecting the Effectiveness of Schools under the Office of Chachoengsao Educational Service Area 2.
The Dissertation of Master of Education Program in Educational Administration, Rajabhat Rajanagarindra University. [in Thai]
Noomongkut, W. (2014). Health Organization Affecting to Quality of Work-life of Personnel Education in Schools that Teach Children with Intellectual Disabilities under the Office of
Special Education. The Dissertation of Master of Education Program in Educational Administration, Nakhon Pathom Rajabhat University. [in Thai]
Office of the Education Council. (2014). Approaches for Development of Thai Education and Proparation of the 21st Century. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]
Putachot, N. (2013). Organizational Behavior. Bangkok: V Print. [in Thai]
Rakchuchip, K. (2010). Organization Theories. Bangkok: Triple Group. [in Thai]
Robbins, S. P. (1983). Organizational Behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Robbins, S. P. (2001). Organizational Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.
Sangarun, C. (2017). Leadership Styles of School Administrators and the Job Motivation under of Teachers to Organizational Health Affecting School under Office of Secondary Education Area 6. The Dissertation of Master of Education Program in Educational Administration, Rajabhat Rajanagarindra University. [in Thai]
Sareerat, S. (2007). Consumer Behavior. Bangkok: Theera Film & Scitex Co., Ltd. [in Thai]
Tarter, C. J. & Kottkamp, R. B. (1991). R.B. Open School, Healthy School: Making School Work. California: Sage Publications.
Thawonchoti, C. (2016). Conflicts Management of Administrators Affecting Organizational Health of School Saimai District under the Bangkok Metropolitan. The Dissertation of Master of Education Program in Educational Administration, Rajabhat Rajanagarindra University. [in Thai]