รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของ สถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชน

Main Article Content

สุดาสวรรค์ งามมงคลวงศ์
ณมน จีรังสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชน โดยมีขอบเขตของประชากรเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมจำนวน 19 สถาบัน ซึ่งวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาค้นคว้าจาก
ข้อมูลเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวขอ้ง (Documentary study) เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผ้บู ริหารสำนักวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับบริบทการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัยโดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling random) และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple sampling random) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 สถาบัน และดำเนินการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์(Descriptive Analysis) 2) การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ซพั พลายเชน โดยนำข้อมลู ทไี่ ด้จากการวเิ คราะห์เอกสารและการสมั ภาษณ์ผ้บู รหิ ารหน่วยงานวจิ ยัของสถาบันอุดมศึกษากลุ่มตัวอย่าง มาทำการสรุปเป็นประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มต่างๆจำนวน 15 ท่าน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบนำมาตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้เพื่อนำไปร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชนและ 3) นำข้อมูลจากการสังเคราะห์และองค์ความรู้ที่ได้มาร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชน และนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยมีประเด็นในการประเมินจำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy Standards) (2) ด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) (3) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) (4) ด้านอรรถประโยชน์ (Utility Standards) จำนวน 12 ท่าน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposivesampling ) และผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นฉันทามิติ เพื่อให้ได้รูปแบบที่สมบูรณ์และเหมาะสม เพื่อนำผลที่ได้ไปออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชน ตามแนวทางทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ต่อไป

          โดยผลการวิจัย พบว่า
          1. รูปแบบการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบด้านการส่งมอบเงินทุนวิจัย (Research Suppliers) องค์ประกอบด้านการให้บริการงานวิจัย (Research Service Provider) และองค์ประกอบด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัย (Research Customers) โดยมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ประกอบด้วย 3 ระบบหลัก คือ ระบบบริหารจัดการผู้ส่งมอบเงินทุนวิจัย (Research Supplier Management System : RSMS)
ระบบการให้บริการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย (Research Service Provider System : RSPS)ระบบการบริหารจัดการผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย (Research Customer Management System : RCMS) และระบบ
การประสานงานวิจัย (Research Coordinate System: RCS ) โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การติดตามตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง (Action)
          2. ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อร่างรูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชนทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.32
          ข้อเสนอแนะ
          เพื่อให้รูปแบบมีความสมบูรณ์มากขึ้นควรจัดโครงสร้างการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นและความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถาบัน

Abstract
          The aims of this research is developed a model of creativity and research management for higher education institutions in Thailand through the electronic supply chain. The scope of the population as a graduate institution focused on producing and developing arts and cultural institutions 19, Its method is consisted in three steps of the operation. Firstly is to analyze and study from related documents which are review in raw data, concept ideas, theories and the result of previous researches, textbooks, academic journals, dissertations, and the other related documents. An in-depth interview from executive directors of research and development section, about the context of management research and creative work within the higher education,
university part with a stratified sampling random and a simple sampling random to the Descriptive analysis. It had shown in five samples institutions. The result of the interviews is presented by the descriptive analysis. The synthesis is the next step of this way that provided with electronics
supply chain of the creative and research management model for the higher education institutions, especially university side. The method of this to relate by the data obtained from the analysis of documents and interviews with agency executives, university research groups. The results are summarized the questions from in-depth interviews with experts in various groups of 15 people from a purposive sampling by the data compiled and classified in a systematic way to interpret

associate, and construct a sequence of data. The method are gathered to draft a form of managing creative and research work on the higher institutions with is using the electronics supply chain. Thirdly, is the data from the starting synthesis and knowledge acquired into a format for managing
to creative and research work of the higher institutions in Thailand with electronics supply chain in the method. And bring it to the 12 experts to determine the suitability of the model. The issues are in the assessment of the four sides. Thus, the Accuracy standard is the one. And follow by the Proprietary standards then the Feasibility standards is the third, and the final side is Utility standard by the purposive sampling. And the researcher has improved upon the recommendation
from the experts at is consensus dimensions. In the order to the form complete and appropriate. To apply the results to design and develop the system for creativity and research management work of the institution Thailand with electronics supply chain. According to the theory, SDLC: “System Development Life Cycle” as the results show that;
          1. There are 3 main things is important to the model of creativity and research management for higher education institutions in Thailand by using the electronic supply chain. They are the Research suppliers, the Research service provider, and the Research customers. The electronic
systems that support the management of research and creative system is consistent in three main sections, the Research Supplier Service Provider System: RSMS, the Research Service Provider System: RSPS, the Research Customer Management System: RCMS is at the end. All of the process is driven by the quality control management technical method; (Plan-Do-Check-Action: PDCA). 

          2. The opinions’ of all regions experts of higher education institutions shows that the great in all of four areas. It presents the consumption, at 4.32. The suggestion; The structure of the Information Technology for Management on higher education institutions
in Thailand should be flexible and appropriate to the context of each institution.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงศ์ โรจน์ประเสริฐ. (2551,กุมภาพันธ์). ISO/IEC 2000. For Quality. 14(124) 109-111.

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2011).E-SUPPLY CHAIN. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2556, จาก http://www.itforsme.net/knc_detail.php?id=768

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย :หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัยพร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จาก SPSS. กรุงเทพ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.พ. บุศรา สาระเกษ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามวงจรPDCA. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2556, จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b176365.pdf

ณมน จีรังสุวรรณ. (2555). หลักการออกแบบและประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ดวงเดือน ภูตยานันท์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์ และไพโรจน์ สถิรยากร. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(2).

ศิโรจน์ ผลพันธิน. (2547). รูปแบบการบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2552). รูปแบบการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเอกชน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (พฤศจิกายน 2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2552). ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ ๓ เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม. จุลสารประชาคมประกันคุณภาพ, 12(กันยายน 2552).

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ 2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม, จาก http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/printing/ detail.php? ID=79

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2555-2559).สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2556, จาก http://www.ba.cmu.ac.th/mis/research/document/strategy.pdf

สุธรรม อารีกุล. (2543). รายงานชุดแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย: รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการปฏิรูปอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวรรณี อัศวกุลชัย. (มปป). e-Supply Chain. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวงอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556, จาก http://logistics.dpim.go.th/webdatas/articles/ArticleFile1370.pdf

Adriana Mărincaş Delia and Cristian Voicila. (2011). Using Web Technologies for Supply ChainManagement. Published: August 1, 2011 under CC BY-NC-SA.

Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Haitham Al-zu’biPHTC College, Al-Balq’a Applied University and Jord. (2010). Applying Electronic Supply Chain Management Using Multi-Agent System: A Managerial Perspective. InternationalArab Journal of e-106 Technology, 1(3), January 2010.

Jeffrey H. Westcott. (2009). Information Technology Service Management (ITSM) Implementation Project. Retrieved March 5, 2013, from http://info.ornl.gov/events/nlit09/Presentations/LLNL%20ITSM%20Implementation-Jeff%20Westcott.pptx

Mamun Habib. (2010). Research Framework of Education Supply Chain, ResearchSupply Chain and Educational Management for the Universities. Retrieved March 10, 2013, from https://www.academia.edu/303525/Research_Framework_of_Education_Supply_Chain_Research

Ronald Moen and Clifford Norman. (2009). Evolution of the PDCA Cycle. Retrieved July, 15, 2013, from http://pkpinc.com/files/NA01MoenNormanFullpaper.pdf