การเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจรายการสอน ภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิตติชาติ ไพรแสนสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการชม ความคาดหวังการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับความคาดหวังและพฤติกรรมการเปิดรับของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง
พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ทดสอบสมมติฐาน โดยสถิติที่ใช้ คือ t-test F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความคาดหวัง
รายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการรับชม พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่รับชม 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รายการที่ชมบ่อยที่สุด คือ รายการอิงลิชออนทัวร์ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการรับชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์อยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ชมที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน
มีพฤติกรรมการเปิดรับ และความคาดหวังต่อรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ แตกต่างกัน ความคาดหวังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับและการใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ พฤติกรรมการเปิดรับมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ และการใช้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ชมรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract
          The objectives of this research was to study viewing behavior, usable expectation and satisfactions of audiences to the TV programs on English Teaching as well as the correlations
among variables namely: demographic characteristics, expectation, exposure, usability and satisfactions of audiences to the TV programs on English teaching in Bangkok. The four hundred samples were multi-stage selected from the population who had ever viewed the TV programs on English
teaching. Descriptive statistic were used to describe the demographic characteristics of the viewers, viewing behavior, frequency, usability and expectation. t-test and F-Test were used to test the differences and correlations among variables. The findings were as follows: The majorities of
viewers were male, less than 15 years of age, and studied at the lower secondary education. The viewers expectation, uses and gratification with viewing the teaching English programs were at a high level. However, the viewers had watched the programs at a moderate level (1-3 times per week). “English on Tour” was the most popular program. The results of hypothesis showed that audiences with different demographic characteristics had different exposure and expectations
to TV programs on English teaching. Expectations was associated with exposure and usability of audiences to the TV programs on English teaching. Exposure was associated with satisfactions of audiences to the TV programs on English teaching and usability was associated with satisfactions
of audiences to the TV programs on English teaching in the statistical level of .05.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2546). ปัจจัยมนุษย์ในการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร (หน่วยที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิติมา สุรสนธิ. (2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัชศรันย์ เตชะวิเชียร. (2541). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ“Mega Clever” ฉลาดสุดสุดทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถิรพุทธิ์ เปรมประยูรวงศา. (2544). รายการไอคิว 180 กับการเปิดรับชม การรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธิติมา อุ่นเมตตาจิต. (2541). การศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ ฟุด ฟิด ฟอ ไฟ กับแสงชัย สุนทรวัฒน์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง อ.ส.ม.ท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มารียา ไชยเศรษฐ์. (2546). ความคาดหวัง การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการที่นี่ประเทศไทย ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมืองยศ จันทรมหา. (2539). ความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อประโยชน์จากการชมโทรทัศน์รายการมันนี่ทอล์ค: กรณีศึกษาเฉพาะผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2556). ภาษา. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษา.ศันสนีย์ นิธิจินดา. (2552). การเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการ คริส ดีลิเวอรี่ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภนาฎ บัวบางพลู. (2546). พฤติกรรมการสื่อสาร ความคาดหวัง การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจในเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของพนักงานในกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2556). จํานวนประชากรทั่วราชอาณาจักร. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2556, จาก http://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/.

อรทัย ศรีสันติสุข. (2541). รายงานการวิจัยผลกระทบของรายการโทรทัศน์ตามสายที่มีต่อสิทธิเด็ก.

องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2556). AEC คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556, จาก http://www.thai-aec.com/41.

Bittner, J. R. (1983). Mass Communication. New Jersey: Prentice Hall.

Katz. E, Blumler, J. G. and Gurevitch, M. (1974). Utilization of Mass Communication by the Individual. In J. G. Blumler and E. Katz (Eds.), The Use of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research. CA: Sage.

Kippax, S., & Murray, J. P. (1980). Using Mass Media Need Gratification and Perceived Utility.Communication Research, vol. 7 July, 335-359.

McCombs, M.E., & Becker, L.B. (1979). Using Mass Communication Theory. New Jersey: Prentice Hall.

Palmgreen, P., Wenner, L. A., & Ray Burn, J. D. (1981). Gratification Discrepancies and News Program Choice. Communication Research.