ผลการชมละครโทรทัศน์เกาหลีกับการซึมซับค่านิยม และการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี

Main Article Content

วนิดา ฉัตรสกุลไพรัช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่านิยม การเลียนแบบวัฒนธรรม จากการรับชมละครเกาหลีผ่านสื่อละครโทรทัศน์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการรับชมละครโทรทัศน์เกาหลีกับการซึมซับค่านิยม และการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากวัยรุ่นอายุ 13-25 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชงิ อนมุ าน ผลการศกึ ษาพบวา่ ผ้ตู อบแบบสอบถามสว่ นใหญเ่ ปน็ เพศหญิง มอี ายรุ ะหวา่ ง 13-17 ปี จบการศกึ ษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีรายได้ระหว่าง 5,001-7,000 บาท ชื่นชอบละครเกาหลีทางโทรทัศน์ประเภทชีวิตรักโรแมนติก ชมละครเกาหลีทางโทรทัศน์ทุกตอน ชมละครเกาหลีทางโทรทัศน์ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ได้รับค่านิยมจากการชมละครโทรทัศน์เกาหลี ในระดับมาก ได้แก่ ความอดทน/อดกลั้นน้อยที่สุด ได้แก่ การดำเนินชีวิตด้วยความรักและมีพฤติกรรมเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี ในภาพรวมและรายด้าน ในระดับมากเช่นกันประเภทละครเกาหลีที่ชื่นชอบ
ความต่อเนื่องในการรับชมละครเกาหลี และปริมาณเวลาในการรับชมละครโทรทัศน์เกาหลี มีความสัมพันธ์กับค่านิยมที่ได้รับ มีผลกระทบต่อเพศอายุ รายได้ต่อเดือน และการศึกษาที่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่ชื่นชอบในละครโทรทัศน์เกาหลีตามความชื่นชอบของ
ตนเอง และชมเป็นระยะเวลานานจนจบตอน จึงส่งผลต่อการเกิดค่านิยมและนำมาสู่พฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนั้นควรมีรายการโทรทัศน์ ที่นำข้อมูลเกี่ยวกับผลดี ผลเสีย เผยแพร่ทางสื่อที่วัยรุ่นนิยมเปิดรับ เพื่อให้วัยรุ่นได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำให้รู้จักแยกแยะการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง

Abstract
          This study is survey research with the following objectives :1.To study the exposure to Korean TV series, values assimilation, and the culture imitation among the Thai youth. 2. To explore the relations between the youth’s demographic characteristics and value assimilation and culture
imitation as well as between value assimilation and culture imitation and series preferences time length and continuity of watching. The tools used for data collection was a set of self-administered questionnaire. Four hundred samples were multi - stage and purposive selected from Thai Youth between 13-25 years old. Descriptive statistics such as frequencies, percentage, mean and standard deviation were used to describe the demographic characteristics, exposure to Korean TV drama, values assimilation and culture imitation. Inferential statistics such as t-test and F-test were used for
hypothesis testing. Findings : The majority of respondents were female aged between 13-17 years with lower secondary education and income earnings between 5001-7000 Baht.The majority of respondents preferred love and romance series the most and watched every episodes for 2 hours or more, assimilation highly Korean values from watching Korean TV series.The respondents highly imitated the Korean culture. Thai youth with different gender, age, and income except
education level were different in value assimilation and culture imitation The preference of Korean TV series, the continuity of watching, and the duration of viewing related significantly with
value assimilation and culture imitation at P.=0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กานต์พิชชา วงษ์ขาว. (2550). สื่อละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิติมา สุรสนธิ. (2545). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราจารีย์ ชัยมุสิก และสุกรี แมนชัยนิมิต. (2549, กุมภาพันธ์). เกาหลีฟีเวอร์ซีรี่ย์ละครฮิตติดจอตู้.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). วัฒนธรรม คือ ทุน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุขุมและบุตร.

ชวรัตน์ เชิดชัย. (2527).ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพยา สุขพรวิทวัส. (2550). พฤติกรรมการเปิดรับและการเลียนแบบสื่อละครโทรทัศน์เกาหลี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ประภาพร พวงเกตุ. (2551). พฤติกรรมการเลือกชมภาพยนตร์ซีรี่ย์เกาหลีในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ปภังกร ปรีดาชัชวาล, ไฉไล ศักดิวรพงศ์ และสากล สถิตวิทยานันท์. (2556). การยอมรับและพฤติกรรมการเลียนแบบทางวัฒนธรรมจากสื่อบันเทิงเกาหลีของวัยรุ่นไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1). 17-30.

วัชรา น่วมเทียบ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมของผู้ชมละครโทรทัศน์ประเทศเกาหลี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภินันท์ มุสิกะพงษ์. (2553). บทบาทของสื่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

Bandura, Albert. (1977). Social Learning Theory. New York: Prentice Hall. Gerbner. George. (1977). Mass Media Policies in Changing Cultures. New York: John Wiley And Son.

Klapper.JosephtT. (1960). The Effects o fMass Communication. Illinois: the Free Press.

Mcleod & O’Keefe. (1972). Socialization; Current Perspectives in Mass Communications Research. London: Sage Publications.