คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นในประเทศไทย

Main Article Content

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
         การวิจัยเรื่องคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทยเป็นการศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักบัญชีที่สถานประกอบการต้องการ ประชากรเป้าหมาย คือพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 300 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามทั้งคำถามปลายปิดและคำถามปลายเปิด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและคุณสมบัติของนักบัญชี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติอย่างง่าย คือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักบัญชีที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด คือ คุณสมบัติด้านจรรยาบรรณ ความเที่ยงธรรมและความสุจริตและต้องการนักบัญชีที่มีความรู้ความสามารถทางการบัญชี สำหรับภาษาญี่ปุ่นและการบัญชีญี่ปุ่นสถานประกอบการต้องการปานกลาง โดยเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นเนื่องจากอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครส่วนใหญ่ มีระบบการทำบัญชี วงจรบัญชีเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทย พนักงานบัญชีส่วนใหญ่เป็นคนไทย จึงยังไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญ
ของภาษาญี่ปุ่นและการบัญชีญี่ปุ่น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย นักบัญชีต้องมีความขยัน อดทน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามงานจากผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำงานภายใต้ความกดดันสูงได้และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ต้องมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ควรมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพียงพอ มีความรู้ด้านบัญชีต้นทุน บัญชีภาษีอากร และนักบัญชีที่ดีควรมีจรรยาบรรณทางการบัญชีและมีความรอบรู้ด้านการบัญชีเป็นอย่างดี

Abstract
          Research project of Desirable Characteristics of Accountant for Japanese Manufacturing Companies in Thailand purposes to study the desirable characteristic of accountants required by 300 Japanese entrepreneurs. Target populations are 300 personnel a group of Japanese companies
with located in Amata Nakorn Chonburi Province. Data collection using questionnaires contains of both open-ended questions and closed ended questions. The questioner is 1) the basic information of the respondents and 2) desirable characteristics of accountant. Data was analyzed
by applying simple such as frequency, distribution, mean, standard deviation and percentage. The results showed that the desirable characteristics of accountants the Japanese enterprises need mostly are ethics. Integrity and honesty also require an accountant with knowledge of financial
accounting. For Japanese language and Japanese style accounting is of moderate demand. Japanese manager noted that Japanese language and Japanese style accounting it is not necessary because Japanese companies in the Amata Nakorn Chonburi Province apply accounting system in accordance with accounting cycle and accounting standards of Thailand. Besides he/she should regularly track job assigned to others. Also is able to work under pressure and
solve problems. Feedback from the research shown that an accountant is required to be diligence, patience, continuous self-improvement jobs are tracked regularly by others. Ability to work under pressure and able to problem solving. He/she must have strong leadership style and is able to control the situation he/she should have sufficient English language proficiency and knowledges of cost accounting and taxation I suggest the research on English Proficiency of accountant should be conducted in the future and knowledgeable in accounting as well.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2543). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. จังหวัดนนทบุรี: สวัสดิการกรมทะเบียนการค้า.

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 19. (2553).จรรยาบรรณของผู้้ประกอบวิชาชีบัญชี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมป์.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2556ก).รายงานวิจัยเรื่อง คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สําหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

________. (2556ข).หลักการบัญชีเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

________. (2554ค). การบัญชีเพื่อการจัดการ: กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด (มหาชน)

ทิวาพรรณ อนุวงศ์. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะนักบัญชีของนักศึกษาที่เรียนสาขาบัญชี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บวรลักษณ์ เงินมา. (2553). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. บัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2555). บทบาทนักบัญชีกับธุรกิจเอ็สเอ็มอี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ปาลวี เชาว์พานิช และอนุชา พุฒิกูลสาคร. (2554). คุณลักษณะผู้ทําบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอําเภอเมืองกาฬสินธุ์. จังหวัดกาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคงอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

ปกรณ์ เพ็ญภาคกุล. (2542). Professional Accounting Accountants แบบไทยๆ กับ IEGs. กรุงเทพมหานคร: เอกสารการประชุมนักบัญชีทั่วประเทศ ครั้งที่ 16 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

พรสิริ ปุรเกษม. (2542). บทบาทของนักบัญชีและการรายงานการเงิน : วิสัยทัศน์ในทศวรรษใหม่. วารสารภาษี บัญชีและกฎหมายธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร.

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีอนุญาตแห่งประเทศไทย. (2550). มาตรฐานการบัญชี. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

สุชาติ เหล่าปรีดา. (2536). การบัญชีธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมนิติ.

เสาวนีย์ เตียวสมบูรณ์. (2542). หลักการบัญชี 1. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.

สันสกฤต วิจิตรเลขการ. (2549). International Standards (IES) กับวิชาชีพบัญชีในประเทศ, จุลสารสมาคมบัญชีไทย, 3(1)

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์ และพรสวรรค์ ทองสุโขวงศ์. (2547). คุณสมบัติ ความรู้ และความชํานาญของผู้ทําบัญชีที่ธุรกิจในเขตจังหวัดขอนแก่นพึงประสงค์. กรุงเทพฯ.

American Institute of Certified Public Accountants. (2010). Accounting Principles Board. Accounting Principles, Original Pronouncement. AICPA, NY.