การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ และศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตร ฝึกอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะตามวัตถุประสงค์ ระยะที่ 1 ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยเพื่อจัดทำต้นแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน ของทาบา เพื่อให้ครูหรือวิทยากรในโรงเรียนผู้สูงอายุได้ทำหน้าที่พัฒนาการเรียนรู้ สามารถจัดการศึกษาให้ ผู้เรียนได้ตามความมุ่งหมาย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนใน 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสภาพแวดล้อม มิติสุขภาพ และมิติสังคม จากนั้นผู้วิจัยได้นำต้นแบบหลักสูตรฝึกอบรมครู โรงเรียนผู้สูงอายุไปสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาเป็น (ร่าง) หลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียน ผูส้ งู อายเุ พือ่ นำไปทดลองใชต้ อ่ ไป ในระยะที่ 2 ผูว้ จิ ยั นำ (รา่ ง) หลกั สตู รฝกึ อบรมครโู รงเรยี นผูส้ งู อายไุ ปทดลองใช้ กับกลุ่มครูโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งระยะนี้ผู้วิจัยดำเนินการด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีทั้งการฝึกอบรมและการปฏิบัติการสอนจริง ทำการทดสอบก่อนและหลังใช้หลักสูตร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร และนำผลจากการทดสอบและจากแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นมาพัฒนา เป็นหลักสูตรอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้ครูมีความรู้และทักษะในการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุใน 4 มิติ รวมทั้งพัฒนาทักษะกระบวนการถ่ายทอดความรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อผู้เรียนและคุณภาพการเรียนการสอน
ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรจากการสะท้อนผลการเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมฝึกอบรมพบว่า การจัดการวัตถุประสงค์กับเนื้อหาสาระมีความสอดคล้องกันมาก รวมทั้งสามารถจัดการระยะเวลาในการฝึกอบรม และวิธีการวัดผลประเมินผลสามารถจัดการได้ดี นำไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในช่วงของการฝึกปฏิบัติ ได้จริงและเหมาะสมกับผู้สูงอายุในโรงเรียน การจัดการเนื้อหาสาระกับกระบวนการฝึกอบรม และการประเมินผล ในช่วงการฝึกอบรมมีความเหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในช่วงการฝึกปฏิบัติ เนื้อหาสาระและ ประสบการณ์เรียนรู้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในหลักสูตรสามารถนำเนื้อหาสาระไปบูรณาการ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนสูงอายุได้ ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน สำหรับวิธีการประเมินผลได้นำวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต การเข้าร่วมกิจกรรม และการถามตอบ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนผู้สูงอายุได้จริง
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
CONS Magazine. (2020). Measures for Aging Have Quality In 4 Dimensions: Economy, Environment, Health and Society. Retrieved October 1, 2020, from https://bit.ly/3oSVeFa [in Thai]
Department of Older Persons. (2016). Seniors School Guide. Retrieved February 2, 2020, fromhttps://bit.ly/39LC6AD [in Thai]
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2019). The Review on Indicators and Information Systems for Measuring Active Ageing in Thailand. Retrieved February 18, 2020, from https://bit.ly/38xB3nE [in Thai]
Jitapankul, S. (2001). Principles of Geriatric Medicine. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Kongjareon, M. & Boriboon, G. (2019). Development of the Community Learning Center Model for the Elderly. Department of Adult Education and Lifelong Education Faculty of Education Srinakharinwirot University. [in Thai]
National Education Act. B.E. 2542. (1999, 15 July). The Government Gazette. 42-48.
Phatphon, M. (2019). Contemporary Curriculum Development Model. Bangkok: Center for Innovation, Curriculum and Learning Leadership. [in Thai]
Ratana-Ubon, A. (2013). The Development of the Supportive Guidelines in Education/ Learning Management for Enhancing the Competencies of Older Adults in Thailand. Education Journal, 40(1), 14-28.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich. World Health Organization. (2002). Active Aging: A Policy Framework. Retrieved June 1, 2021, from https://qrgo.page.link/htHb9