การพัฒนารูปแบบการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำสำหรับครูปฐมวัย

Main Article Content

วิไลวรรณ กลิ่นถาวร
ศิริพร วงศ์ตาคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำสำหรับครูปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ผ่านชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพก่อนและหลังการอบรม และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่ผ่านการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการอบรม และระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอบรมโดยนำรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือ ครูปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 12 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการอบรม 2) แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำสำหรับครูปฐมวัยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) ที่มาของรูปแบบ 1.2) กระบวนการของรูปแบบ 1.3) ผลการใช้รูปแบบ และ 1.4) สะท้อนผลการใช้รูปแบบ 2) ผลการใช้รูปแบบการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำสำหรับครูปฐมวัยมีดังนี้ 2.1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ซึ่งสูงกว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 และ 2.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่ผ่านการอบรมโดยใช้ชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 โดยด้านที่มีผลการประเมินความพึงพอใจสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 รองลงมาคือ ด้านวัดประเมินผลอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุดคือ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิไลวรรณ กลิ่นถาวร, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Thailand Citation Index Centre

References

Boston University. (2018). Active learning: Teaching guide. https://www.bu.edu/ctl/guides/active-learning/

Chaichawarat, R. (2015). Ways to build teachers to disciples: Professional learning community: Documentation of concepts and guidelines for professional development of teachers for the working group of the project to develop mechanisms and guidelines to support professional learning communities for learner development. Office of Social Promotion of Learning and Youth Quality. [in Thai]

Duangkamnoi, S. (2018). Proactive learning: Challenging activities for learners in the education age 4.0. Academic Journal and Research Northeastern University, 8(3), 61-71. [in Thai]

Kornpuang, A. (2019). Research and development of professional learning community management model of basic school teachers to promote STEM educational learning. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 25(1), 26-40. [in Thai]

La Thunthirakun, N. (2018). Complete machine on PLC: Professional Learning Community. Khon Kaen Provincial Education Office. [in Thai]

New York University. (2018). Steps to creating an active learning environment. https://www.nyu.edu/faculty/teaching-and-learning-resources/strategies-for-teaching-with-tech/bestpractices-active-learning/steps-to-creating-an-active-learning-environment.html

Ngamsiri, D., Boonyot, N., & Pinijwajjanawong, N. (2020). Active-learning teaching by using the MARCO model in the cloud processing course. Journal of MCU Nan Review, 3(2), 69-80. [in Thai]

Office of Teacher Competency Development and Vocational Personnel. (2018). Guidelines for driving the community process of professional learning. Bureau of Personnel Competency Development. [in Thai]

Office of Teacher Development and Basic Education Personnel. (2017). Handbook for training on how to drive PLC (Professional Learning Community) process “professional learning community” to educational institutions. Teachers and Basic Education Personnel Development Bureau. [in Thai]

Online Learning Insights. (2017). Four-step strategy to create active learning in any learning space—online, F2F or blended. https://onlinelearninginsights.wordpress.com/2015/09/02/four-step-strategy-to-create-active-learning-in-any-learning-space-online-f2f-or-blended/

Pahe, S. (2013, December 28-29). Teacher professional development to the educational reform era in the 21st century. In S. Kaewpana (Chair), The teacher development according to the 21st century education reform strategy (B.E. 2552-2561) [Symposium]. Academic

Seminar System-wide Teacher Development According to the 21st Century Education Reform Strategy Phrae Primary Educational Service Area Office 1-2, Nakorn Phrae Tower, Phrae.

Ruangsuwan, Ch. (2010). Teaching technology: Design and development. Odean Store. [in Thai]

Srinon, R., Srinon, U., Yomdit. V., & KitnopkiatI, K. (2019). Active learning management in the era of Thailand 4.0. Journal of Education Administration, Silpakorn University, 9(2), 331-343. [in Thai]

Supakul, K. (2015). Active learning for real learners. Nakhon Sawan Rajabhat University. [in Thai]

Teacher Training Institute, Teacher Training. (2019). Drill in step by step!! PLC making process. https://www.learneducation.co.th/tag/plc/ [in Thai]

Thongon, Y. (2018). Active learning: Participatory teaching. Journal of Knowledge Management Nakhon Sawan Rajabhat University, 1(1), 1-8. [in Thai]

Tumchaiyangkul, O. (2020). An evaluation competency building mode form the preliminary executives of university: An application of professional learning community approach. Panyapiwat Journal, 12(1), 221-223. [in Thai]

Wiwanthamongkon, K. (2019). Model of developing teachers by using the process of Professional Learning Community (PLC) in promoting learning management abilities based on the STEM education approach at the basic education level. Veridian E-Journal, Silpakorn University: Humanities, Social Sciences, and Arts, 11(3), 91-114. [in Thai]