การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนตามทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพลในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ตามทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพล และเพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารแบบหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการเป็นหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียนครอบครัวและชุมชน และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียนครอบครัวและชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการร่วมมือ ด้านการเรียนรู้ และด้านจิตอาสา รูปแบบการบริหารแบบหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบการเป็นหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ประกอบด้วย การเลี้ยงดู การสื่อสาร จิตอาสา การเรียนรู้ การตัดสินใจ การร่วมมือ และแนวทางการบริหารแบบหุ้นส่วน และส่วนที่ 3 ปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Buason, R. (2009). Research and development of educational innovation. Kam Samai. [in Thai]
De Boer, A., Pijl, S. J., & Minnaert, A. (2010). Attitudes of parents towards inclusive education: A review of the literature. European Journal of Special Needs Education, 25(2), 165-181.
Booth, A., & Dunn, J. F. (Eds.). (2013). Family-school links: How do they affect educational outcomes? Routledge.
Epstein, J. L. (2007). Improving family and community involvement in secondary schools. Principal Leadership, 8(2), 16-22.
Epstein, J. L. (2010). School, family, community partnerships: Caring for the children we share. Phi Delta Kappan, 92(3), 81-96.
Epstein, J. L. (2011). School, family, and community partnerships: Preparing educators and improving schools. Routledge.
Griffiths, C. B., Norwich, B., & Burden, B. (2004). Parental agency, identity and knowledge: Mothers of children with Dyslexia. Oxford Review of Education, 30(3), 417-433.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Ministry of Education. (2002). The National Education Act 2003 (No. 2). The Express Transportation Organization of Thailand. [in Thai]
Mortimore, P., & Sammons, P. (1987). New evidence on effective elementary schools. Educational Leadership, 45(1), 4-8.
Pang, I. W. (2004). School-family-community partnership in Hong Kong-perspectives and challenges. Educational Research for Policy and Practice, 3(2), 109-125.
Qiguang, Y. A. N. G. (2006). The theory of overlapping spheres of influence: An explanatory framework of the partnership between schools and families in America. Studies in Foreign Education, 33(2), 76-80.
Sirisunhirun, S. (2004). A development of model for leadership traits development of the deans [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University. [in Thai]
Wongwanich, S. (2007). Needs evaluation research necessary. Chulalongkorn University Publisher. [in Thai]