นวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทย

Main Article Content

เพ็ญทิพา แจ่มจันทร์เกษม
ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

อทิสติกในประเทศไทย 2) ศึกษากระบวนการและองค์ประกอบการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกของมูลนิธิออทิสติกไทยและองค์กรภาคีพันธมิตรในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพของบุคคลออทิสติก 3) เสนอแนวทางการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทยผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และการลงพื้นที่สังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 4 เดือนตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม ถึง 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามหลักโครงสร้างทฤษฎีที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 5 กลุ่ม รวมจำนวน 20 คน ประกอบด้วยบุคคลออทิสติกและครอบครัว รวมถึงเจ้าหน้าที่องค์กรต่าง ๆ ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของบุคคลออทิสติกทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัยผ่านวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า สังคมไทยยังขาดความตระหนักรู้ (Awareness) ที่ถูกต้องต่อบุคคลออทิสติกซึ่งส่งผลกระทบถึงปัญหาด้านต่าง ๆ เริ่มจากระดับครอบครัวที่เข้าสู่ระบบคัดกรองล่าช้าต่อเนื่องถึงระดับสังคมที่ถูกกีดกันทางการศึกษารวมถึงการประกอบอาชีพนวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทยจึงถือกำเนิดขึ้นจากผู้ประสบปัญหาคือ บุคคลออทิสติกและครอบครัวโดยมีมูลนิธิออทิสติกไทยและองค์กรภาคีพันธมิตรเป็นกำลังขับเคลื่อนหลัก งานวิจัยนี้เสนอมาตรการการดูแลบุคคลออทิสติก 3 ประเด็น ผ่านแนวคิด RAM เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมไทยได้อย่างเท่าเทียมตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Autistic Thai Foundation. (2021). Autistic Thai foundation. https://autisticthai.com [in Thai]

Cresswell, L., Hinch, R., & Cage, L. (2019). The experiences of peer relationships amongst autistic adolescents: A systematic review of the qualitative evidence. Research in Autism Spectrum Disorders, 61, 45-60..

Gardner, H. (1987). The theory of multiple intelligences. https://www.jstor.org/stable/23769277

Habermas, J., Lennox, S., & Lennox, F. (1964). The public sphere: An encyclopedia article. https://www.jstor.org/stable/487737

Holland, J. L. (1972). Vocational preference inventory. https://www.jstor.org/stable/1433813

Hull, L., Petrides, K. V., Allison, C., Smith, P., Baron-Cohen, S., Lai, M., & Mandy, W. (2017). Putting on my best normal: Social camouflaging in adults with autism spectrum conditions. Journal of Autism and Developmental Disorders, 47, 2519-2534.

Jankowska, D. M., Omelanczuk, I., Czerwonka, M., & Karwowski, M. (2019). Exploring links between creative abilities, creative personality and subclinical autistic traits. Personality and Individual Differences, 142, 226-231.

Jarabrum, O. (2019). Art therapy activities for creativity development of autistic students. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 6(1), 303-312. [in Thai]

Parents Association and Autistic Thai Foundation. (2016). Four supporting mechanisms based on autistic roadmap. Autistic Thai Foundation Publisher.

Suntonpong, B. (2019). Family role on social skills development of autistic children in dome nursery school under the office of the basic education commission, Bangkok. Journal of Arts Management, 3(2), 69-82. [in Thai]

Tangviriyapaiboon, D. (2013). Effect of early intensive intervention program in children with autistic spectrum disorders on IQ outcome. Journal of Mental Health of Thailand, 21(2), 121-130. [in Thai]

Tawankanjanachot, N. (2016). Social skills of school age children with autism spectrum disorders. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 30(2), 1-21. [in Thai]