การพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนในตำบลบางปลา 2) ศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วม และ 3) พัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 75 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น กลุ่มอาชีพชุมชน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์สำหรับข้อมูลเชิงลึก แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบระดมพลังสร้างสรรค์ โดยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาชีพชุมชนที่มีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อทำเป็นอาชีพ ได้แก่ กลุ่มประมงน้ำจืดกลุ่มทำเห็ดเยื่อไผ่และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด กลุ่มละครชาตรี กลุ่มทำปลาสลิดเค็มแดดเดียว และกลุ่มทำอาหารพื้นบ้าน และข้อมูลการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วมพบว่า การมีแหล่งน้ำที่มากพอสำหรับทำอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิม และผู้นำกลุ่มอาชีพมีทักษะและประสบการณ์ในการบริหารจัดการกิจกรรมของกลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสมาชิกให้ความร่วมมือ มีความรับผิดชอบต่อการทำากิจกรรมของกลุ่ม รวมทั้งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนนอกจากนี้ควรจัดให้มีเวทีถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำอาชีพชุมชนให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความสนใจและรับช่วงต่อ ด้านปัญหาและอุปสรรคการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน คือ การมีข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่จอดรถและสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพชุมชนเพราะไม่ได้ออกแบบมาก่อน สำหรับการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การกำหนดจุดที่ตั้งของกลุ่มอาชีพชุมชนที่ยังคงมีการทำอาชีพชุมชน และมีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน อาทิ กลุ่มประมงน้ำจืด กลุ่มทำปลาสลิดเค็มแดดเดียว กลุ่มละครชาตรี โดยใช้สีเครื่องหมายโดยการใช้ระบบการค้นหาจากแผนที่ทางกูเกิลแมพเพื่อแสดงประเภทของกลุ่มอาชีพชุมชน และกำหนดเขตพื้นที่ด้วยการใช้รหัสสีหรือโทนสีเพื่อบอกถึงระดับความพร้อมของกลุ่มอาชีพ ชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเพิ่มคุณค่าให้กับกลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบด้วยการใช้แบบสัญลักษณ์ 3 มิติ แห่งคุณค่าที่แสดงถึงการเชื่อมโยงถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพื่อการรับรู้ของนักท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Boonsang, S., Sanlum, W., & Monthon, N. (2017). The model development applying the idea of sufficiency economy for happiness community. Community Research Journal, 11(2), 9-20. [in Thai]
Boonyabancha, S. (2016). The OTOP producers and operators to new OTOP in 2016. Department of Community Development, Office of the Promotion of Local Wisdom and Community Enterprise Community. [in Thai]
Chompoonoi, S. (2018). The study of an additional value for a community-based tourism, the case study of Ban Chiang District, Udon Thani Province [Master’s thesis]. Thailand National Defense College. [in Thai]
Community Development Department. (2016). The guiding of the implementation policy to development of the economic foundation and the civil state. Community Development Department. [in Thai]
Department of Tourism. (2018). Thai tourism strategy 2018-2021. VIP Copy Print. [in Thai]
Inda, T. (2018). The capital and potential community for tourism management the Tai Phuan at Ban Klang Pak Tom Sub-district, Chiang Khan District, Loei Province. Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]
Krachangmek, J., & Meuandej, S. (2019). Development of cultural tourist attractions in Nakhonpathom Province. Rajamangala University of Technology Rattanagosin. [in Thai]
Kunasri, K., Panmamee, C., Singkharat, S., Suthep, S., & Suthep, D. (2016). Local identity for community product development: Case study of Baan Huay Chompoo community enterprise. Journal of Humanistic and Social Sciences, 10(4), 88-89. [in Thai]
National Reform Council. (2015). Agenda item 1 with development of tourism. Secretariat of the National Reform Council, Parliament Printing. [in Thai]
Office of Contemporary Art and Culture. (2018). The knowledge of contemporary art: Creation for enhancement of cultural capital. Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). The annual report of the poverty and social inequality in 2019. The Development Offce of Database and Indicator Social, Office of the National Economic and Social Development Council.
[in Thai]
Office of Tourism Development. (2014). Statistical data of tourism. Minister of Tourism and Sports. [in Thai]
Office Project for the Royal Initiatives by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.
(2003). Royal development project the year 2004-2009. Office of the Royal Development Projects.
Opassathien, S. (2020, May 29). Interview by T. Phattaraphanpee [Tape recording]. President of Tour Thai 4.0, Bangkok. [in Thai]
Paochinda, A. (2018). Invites to travel to community tourism ‘Ang Lek’ link to ‘Ang Yai’ that income to the community for 6 months, a total of 1,200 million baht. CDD. https://www.cdd.go.th/content/ [in Thai]
Pasadee, N. (2012). Promotion of occupational groups by Tambon Administrative Organizations in Maetha District, Lampang Province [Master’s thesis]. Chiang Mai University. [in Thai]
Pechsong, P. (2010). The study of existing and connection format of agriculturist under the push and support from Subdistrict Administrative Organization in Nakorn Sri Thamarat Province. Rajamangala University of Technology Srivijaya. [in Thai]
Phattaraphanpee, T. (2018). The process on promote the elderly identify occupation group in Tumbol Bangpla, Bangplee District, Samutprakarn Province. Dhonburi Rajabhat University. [in Thai]
Phukpoo, W. (2020). Community product development for tourism. Randdcreation. https://www.randdcreation.com/content/4738 [in Thai]
Saenpakdee, P. (2010). Technique and process in participation. Prachasan. http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html [in Thai]
Subcommittee for the Strategic of Economic Foundation. (2016). Handbook of development economic foundation. Information Department, Community Organization Development Institute (Public Organization). [in Thai]
Smith, W. E. (2009). The creative power: Transforming ourselves, our organization and, our world. Taylor & Francis Group.
Suansri, P. (2016). CBT standard handbook. Wanida Karnpim. [in Thai]
Srimaitree, M. (2016). Model and potential development of community enterprises in the cultural tourism based on local identity to tourists in Ubon Ratchathani Province. Thai Hospitality and Tourism Journal, 11(2), 53. [in Thai]
Soonthonsmai, V., & Thammachart, P. (2016). Community-based healthy tourism patterns for sustainable development of community-based enterprise networking in Prajinburi Province. Association of Researchers Journal, 21(3), 167. [in Thai]
Tarkam, P. (2019). The development of tourism potential in Huai Toei Village, Sam Sung District, Khonkaen Province. Dhammathas Academic Journal, 19(2), 203-204. [in Thai]
Teerawisit, A. (2010). Principles of community development. Khon Kaen University Printing. [in Thai]
Treetrong, A. (2018). The knowledge of contemporary art: Creation for enhancement of cultural capital. Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture. [in Thai]
Thai Encyclopedia Project for Youth. (2004). Local wisdom and folk philosopher. Khurusapha Ladprao Printing. [in Thai]
Wingwon, B., Ruttanateerawichien, K., & Wongvirach, K. (2013). Integrating social capitals of tourism resources in its connectivity with culture and ecotourism industry development of Lampang Province. Lampang Rajabhat University. [in Thai]