การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

Main Article Content

สมพร โกมารทัต
อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์
ศิริพร สัจจานันท์

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมคัดเลือกและจัดประเภทงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย และ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนด และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกลักษณะทั่วไปของงานวิจัย และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ


ผลการศึกษา พบว่า 1) งานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนใประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ตลอดจนมีเนื้อหาสาระ ประเด็นวิจัย และความพอเพียงของข้อมูลที่สามารถนำมาสังเคราะห์ได้ จำนวน 181 เล่ม ผลการจัดประเภทตามกรอบการวิจัย 2 แนวคิดร่วมกัน ได้แก่ 1.1 แนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในด้านสิทธิที่จะอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับสังคม และ 1.2 แนวคิดทฤษฎีระบบนิเวศวิทยาของ Bronfenbrenner ซึ่งครอบคลุมเรื่องเด็ก เยาวชน และระบบจุลภาค ระบบปฏิสัมพันธ์ ระบบภายนอก ระบบมหภาค และ 2) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์จัดในกลุ่มสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับสังคมในระบบปฏิสัมพันธ์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับตัวเด็กและเยาวชนโดยตรงมีจำนวนมากที่สุดจำนวน 55 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 30.38 รองลงมาคือ งานวิจัยในกลุ่มสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับสังคมในระบบภายนอกที่เน้นสิ่งแวดล้อมที่มีผลทางอ้อมต่อเด็กและเยาวชนมีจำนวน 36 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 19.89 โดยที่งานวิจัยระบบมหภาคที่ศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นแผนปฏิบัตินโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมีจำนวนน้อยมาก ส่วนงานวิจัยที่ไม่มีการศึกษา ได้แก่ งานวิจัยในกลุ่มสิทธิที่จะอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับสังคมในระบบมหภาคที่ให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติ นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน และความแตกต่างทางวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bronfenbrenner, U. (1995). Developmental ecology through space and time: A future perspective. In P. Moen, G. H. Elder, & K. Jr. Lüscher (Eds.), Examining lives in context: Perspectives on the ecology of human development (pp. 619-647). American Psychological Association.

Bronfenbrenner, U., & Morris, P. A. (1998). The ecology of developmental process. In W. Damon, & R. M. Lerner (Eds.), Handbook of child psychology, vol. 1: Theoretical models of human development (pp. 992-1028). John Wiley and Sons.

Cooper, H., & Lindsay, J. J. (1997). Research synthesis and meta-analysis. In L. Bickman, & D. J. Rog (Eds.), Handbook of applied social research method (pp. 315-337). Sage Publication.

Department of Children and Youth. (2017). Strategic plan for research on children and youth 2017-2021. Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]

Educational Research Division, Department of Academic Affairs. (1999). Research synthesis on teaching English in the elementary school. Ministry of Education. [in Thai]

Kay, K. (2010). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In J. A. Ballanca, & R. Brandt (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn(pp. XIII-XXXI). Solution Tree.

Narot, P., & Bunterm, T. (1999). The synthesis of educational research in Thailand between 1996 and 1999. Faculty of Education, Khon Kaen University. [in Thai]

Panich, V. (2014). Learning management in 21st century: Theory toward implementation. The Siam Commercial Foundation. [in Thai]

Wiratchai, N., & Wongwanich, S. (2002). A synthesis of research in education using meta-analysis and content analysis. Office of the National Education Commission, Royal Thai Government. [in Thai]