การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาและภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษในบริบทป๊อปคัลเจอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

กฤตพิภัช แก้วกำเหนิด
จารุณี ทิพยมณฑล
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การวางแผน การจัดการเรียนรู้ การเลือกกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้ รวมไปถึงการเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับผู้เรียน ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยทั้งแนวคิดและกลวิธีที่จะช่วยสร้างความคิดที่เป็นระบบแก่ ผู้สอน ทั้งยังเป็นการพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอีกด้วย บทความวิชาการฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอแนวคิดการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาและภาษา (Content and Language Integrated Learning: CLIL) ที่ได้จากการสังเคราะห์ และ 2) นำแนวคิด CLIL มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาและภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษในบริบทป๊อปคัลเจอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากการศึกษาแนวคิด CLIL พบว่า แนวคิด CLIL เป็นแนวการสอนที่มุ่งเน้นสองทางอันได้แก่ ความรู้ทางภาษาและความรู้ทางเนื้อหาวิชา โดยยึดตามกรอบแนวคิด 4Cs (The 4Cs Framework) ซึ่งประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐาน 4 ประการ อันได้แก่ เนื้อหา (Content) การคิด (Cognition) การสื่อสาร (Communication) และวัฒนธรรม (Culture) โดยการนำแนวคิด CLIL มาจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นเป็นการเพิ่มทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาด้านเนื้อหาทางวิชาการ รวมถึงเป็นการเรียนภาษาอังกฤษที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการแก้ไขปัญหา นอกจากที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษแล้ว ผู้เรียนยังได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมและความเข้าใจความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมที่สอดแทรกในเนื้อหาร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of bloom’s taxonomy of educational objectives. Longman.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Longmans, Green.

Coyle, D. (2000). Meeting the challenge: The 3cs curriculum. Multilingual Matters Ltd.

Coyle, D. (2002). From little acorns. Brussels University Press.

Coyle, D., Holmes, B., & King, L. (2009). Towards an Integrated Curriculum-CLIL national statement and guidelines. The Languages Company.

Coyle, D., Hood, P., & Marsh, D. (2010). CLIL content and language integrated learning. Cambridge University Press.

Dalton-Puffer, C. (2007). Discourse in “Content and Language Integrated Learning” (CLIL) classrooms. John Benjamins.

Doake, D. B. (1974). Comprehension and teaching strategies. 800 Barksdale Road.

Meyer, U. (2007). In the name of identity: Teaching cultural awareness in the intercultural classroom. In Conference on Changing Identities in a Globalized World. Faculty of Communication, Vilnius University.

Mohan, B. A. (1986). Language and content. Addison-Wesley.

Nunan, D. (1990). Second language teacher education. Cambridge University Press.

Núñez, A. (2010). The teaching of English within the theory-Practice alternance model. In Innovación Y competitividad: Memorias de la jornada de investigación 2010 (p. 37). Uniempresarial.

Pru, L. (2019). Characteristics of globalization with a link to education. The classroom. https://www.theclassroom.com/characteristics-globalization-education-8468888.html

Snow, M. A., Met, M., & Genesee, F. (1989). A conceptual framework for the integration of language and content in second/foreign language instruction. TESOL Quarterly, 23(2), 201-217.

Szeman, I., & O’Brien, S. (2017). Popular culture: A user’s guide. Nelson Education Ltd.

Tomlinson, B. (2012). Materials development for language learning and teaching. Continuum Press.

Van Lier, L. (1996). Interaction in the language curriculum: Awareness, autonomy, and authenticity. Longman.