ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ภีมภณ มณีธร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 4 ชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีศักยภาพและประสงค์เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า จาก 3 ใน 4 กลุ่มเกษตรกรไม่สามารถพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปแบบใหม่ โดยพบปัญหาและอุปสรรคสำคัญดังนี้ 1) กำลังการผลิตวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ 2) กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน 3) การขาดสุขอนามัยด้านการผลิตอาหาร 4) การขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการแรงงาน ด้านการจัดทำบัญชี และมาตรฐานในการผลิตอาหารปลอดภัย 5) การขาดแคลนเงินทุนและเข้าถึงแหล่งทุน 6) ตัวของผู้นำเกษตรกรที่ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ ซึ่งหากเกษตรกรต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เกษตรกรต้องสามารถขจัดปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มและมีความปลอดภัย ปรับแนวคิดวิธีการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกที่พร้อมให้การสนับสนุน ลดข้อจำกัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับรูปแบบการผลิตจากผลิตภัณฑ์ต้นน้ำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปปลายน้ำมูลค่าสูงที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้รองรับกับการผลิตเพื่อจำหน่ายปริมาณมากโดยได้รับการรับรองมาตรฐานสุขอนามัยต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์และสามารถแข่งขันได้ในระดับอาเซียน ในส่วนของแนวทางต่อยอดไปสู่ประโยชน์เชิงสาธารณะคือ นำาผลการวิจัยนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรของชุมชนอื่นหรือเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunsin, O. (2014). Guidelines to create production oriented enterprise for community enterprises in the industrial sector. Silpakorn University Journal, 10(1), 1572-1589. [in Thai]

Chantavanich, S. (2011). Qualitative research methods (19th ed.). Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Hutanuwatr, N. (2008). SWOT: Community business strategic planning (7th ed.). Ratchathani University Printing House. [in Thai]

Krisri, D. (2011). Concept and theory of human potential. Travel booklet.

Maneetorn, S. (2019). Ways to develop Doi-Whan coffee products, Doi Saket District, Thep Sadet Sub-district, for commercial and public benefits under the ASEAN Economic Community (AEC). Journal of Management Science Review of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat

University, 21(2), 97-106. [in Thai]

Suksomgasem, R. (2016). The study of factors contributing to the community strength: Case study of Pakkret Municipality Nonthaburi [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]

Sura, K. (2008). Learning management to increase potential of human resources for upgrading the economy and society of rural and urban communities Chiang Mai Province (Research report). Chiangmai Rajabhat University. [in Thai]

Waterman, R. (2012). 7S model. Blogspot. http://adisonx.blogspot.com/2012/10/7s-model.html [in Thai]