ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดค่าความน่าจะเป็นสําหรับการกู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดค่าความน่าจะเป็นสําหรับการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากสํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสํานักงานสถิติแห่งชาติ (Socio-Economic Survey: SES) ปี 2562 จํานวน 55,854 ครัวเรือน จําแนกข้อมูลเป็นกลุ่มที่กู้เงินและไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ตามลักษณะ 4 กลุ่มอาชีพ
การศึกษาบทบาทของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยการวิเคราะห์เอกสารและเนื้อหา (Document Content Analysis) และการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดค่าความน่าจะเป็นสําหรับการกู้เงินโดยใช้ Logistic Regression และใช้การจับคู่คะแนนความโน้มเอียง (Propensity Score Matching: PSM) ของกลุ่มที่กู้เงินและไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อแก้ปัญหาความเอนเอียงในการคัดเลือก (Selection Bias)
ผลการศึกษาบทบาทของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่า กองทุนฯ เป็นกลไกที่สําคัญของรัฐบาลตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้กับสมาชิกทั่วประเทศ เพื่อการลงทุน พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจําเป็นเร่งด่วนของชุมชน
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดค่าความน่าจะเป็นสําหรับการกู้เงินกองทุนฯ พบว่า 1) สินทรัพย์ทางการเงิน และระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาปีที่ 6 มีอิทธิพลต่อการกําหนดค่าความน่าจะเป็นสําหรับการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในทุกกลุ่มอาชีพ 2)จํานวนสมาชิกในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการกู้เงินกองทุนฯ ในกลุ่มอาชีพผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ และผู้ประกอบการนอกภาคการเกษตร 3) ระดับการศึกษาสูงสุดมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีอิทธิพลต่อการกู้เงินกองทุนฯ ในกลุ่มอาชีพผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ และผู้ปฏิบัติงานในภาคการเกษตร 4) ระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 มีอิทธิพลต่อการกู้เงินกองทุนฯ กับกลุ่มอาชีพผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ และผู้ประกอบการนอกภาคการเกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Abhakorn, P., Jarumilinth, J., Thienthitikul, R., Pinyoanantapong, N., Praiwan, T., Pholpipatphong, P., Manaklu, T., Tantisantiwong, N., & Rangsi, P. (2011). The roles of microfinance in promoting financial access. https://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/a94ec02b-ca90-423c-81bd-5003bee48829/9146.aspx [in Thai]
Atthayuwat, W. (2016). Access to nano-finance loan for microenterprises in Bangkok [Master’s independent study]. Thammasat University. [in Thai]
Chamniaraphon, S. (2014). Informal debt and the social justice. Social Research Institute,Chulalongkorn University. http://www.cusri.chula.ac.th/backup/download/cluster6.pdf [in Thai]
Chotthananan, T., & Lowatcharin, G. (2019). Potentiality of local administrative organizations in Udon Thani Province for local economic development. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 112-128. [in Thai]
Manakul, T. (2011). Community financial institutions and the lives of villagers. https://1359.go.th/FIDP/Source/Article/Source/data/article05.pdf [in Thai]
Manakul, T. (2013). Financial discipline and economic survival. https://1359.go.th/FIDP/Source/Article/Source/data/article04.pdf [in Thai]
National Village and Urban Community Fund Office. (2020). National village and urban community fund office annual report 2020. http://www.villagefund.or.th/uploads/gallery/image_big_609dea52d43ec.pdf [in Thai]
National Statistical Office. (2020). Household socio-economic survey 2019. https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ Whole_full_report_62.pdf [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The national economic and social development plan 12th 2016. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). Poverty and inequality report 2019. https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20201103111407.pdf [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The national economic and social development plan 13th 2022. https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/88_13.pdf [in Thai]
Phantaeeya, C. (2019). Public policies for reducing inequality in Thailand: Microfinance. King Prajadhipok’s Institute Journal, 17(1), 58-74. [in Thai]
Pongpirodom, P. (2013). Microfinance. https://www.scbeic.com/th/detail/product/914 [in Thai]
Ratanabanchuen, R. (2017). Borrowing behavior and the improvement of production process through microfinance. NIDA Development Journal, 57(2), 1-34. [in Thai]
Sanguanwongse, V. (2020). Economic and social factor affecting household debt in Thailand.Department of Cooperatives, Economics Faculty, Kasetsart University. [in Thai]
Satanunphiphat, C. (2017). Factors causing shark loans: A case study of department of local administration in Muang Pathumthani, Pathumthani Province [Master’s independent study]. Thammasat University. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010791_5503_51 [in Thai]
Worasngasilp, N., Pongsapan, R., Siripanyawat, S., Srisawat, S., Tansri, K., Tanabodeepat, S., Julakaseam, K., Loakeaw, P., Suwanasonthon, P., & Ngaorangsee, N. (2007). The village and urban community fund operations and sustainability in the future. Bank of Thailand. [in Thai]
Weerakuntewan, P. (2015). The effects of microfinance on poverty reduction [Master’s independent study]. Thammasat University. [in Thai]
Wichianplert, S. (2015). National village and urban community fund. Parliamentary Budget Office, The Secretariat of the House of Representatives. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=105 [in Thai]
Wongkham, N. (2018). Factors to the success of village fund policy implementation: Case study of the village funds that developed into community financial institutions in Samutprakan Province. Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(1), 187-200. [in Thai]