การประเมินผลโครงการระหว่างดำเนินการผลิตปาล์มนํ้ามัน กรณีศึกษา บริษัท สวนละออ จำกัด จังหวัดตาก

Main Article Content

มลฤดี จันทรัตน์
มนตรี คงตระกูลเทียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อทำการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (On-going Evaluation) โครงการการผลิตปาล์มนํ้ามันในจังหวัดตาก และเพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนปาล์มนํ้ามันโดยทำการเก็บข้อมูลการปลูกปาล์มนํ้ามันซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6.45 ไร่ มีจำนวนปาล์มนํ้ามัน 142 ต้น อายุปาล์มประมาณ 10 ปีครึ่ง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 2 ส่วน ส่วนแรกใช้ข้อมูลจริงในช่วงปี 2553-2562 และส่วนที่สองใช้ข้อมูลประมาณการ โดยใช้วิธี Polynomial ในช่วง 2563-2572 โดยกำหนดให้กรอบเวลาของการวิเคราะห์โครงการการผลิตปาล์มนํ้ามันนี้มีอายุโครงการรวม 20 ปี การวิจัยครั้งนี้จะใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และใช้สถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย เป็นต้น


ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินพบว่า โครงการผลิตปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ประมาณ 6.45 ไร่โดยมีระยะเวลาของโครงการ 20 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 55,043.43 บาท/ไร่ อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 8.28 % และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.39 เท่า ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าทางการเงิน และผลการวิเคราะห์ค่าการแปรเปลี่ยน (SVT) จากการทดสอบค่าการแปรเปลี่ยนด้านต้นทุนมีค่าเท่ากับ 38.65% หมายความว่า ต้นทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 38.65% และการทดสอบการแปรเปลี่ยนด้านผลตอบแทน มีค่าเท่ากับ 27.88%  หมายความว่า ผลตอบแทนสามารถลดลงได้ 27.88% จึงทำให้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนพอดี แสดงว่าความเสี่ยงของโครงการอยู่ในระดับตํ่า และเมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิด Capital Recovery Factor (CRF) เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนปาล์มนํ้ามันพบว่าบริษัทสามารถปลูกทดแทนได้ในปีที่ 25 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angyureekul, N. (2004). Agribusiness management. Department of Agricultural and Resource Economics, Faculty of Economics, Kasetsart University. [in Thai]

Bureau of Agricultural Economic Research. (2021). Industrial development plan of palm oil and oil palm 2008-2012. Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Choengthong, S., Choengthong, S., Angyureekul, N., & Soraj, S. (2016). A financial investment analysis and optimum replanting age of palm oil tree of smallholders, Surat Thani Province. Agricultural Research Development Agency (Public Organization).

Nillaket, I., & Wattanakul, T. (2014). Analysis of potential production of oil palms and market structure: Case study of Nongkhai and Bungkan Province. KKU Research Journal (Graduate Studies), 2(1), 60-70. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. (2019). Situation of important agricultural products and trends in 2019. Bureau of Agricultural Economic Research, Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Phromduand, P., Chaosukhum, W., & Saranrom, D. (2011). Decision making to invest in a size of oil palm orchard at Kapoe District in Ranong Province. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 5(3), 43-53. [in Thai]

Sukhabot, S., Angyureekul, N., & Soraj, S. (2016). A financial investment analysis and optimum replanting age of palm oil tree of Smallholders, Krabi Province. Agricultural Research Development Agency (Public Organization).

Worasatit, N., Wongwai, W., Thipmuangphom, S., Somkid, S., & Thongna, K. (2014). Testing and development of production technology for oil palm cultivation in new area of Thailand. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]