การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โครงการหนองคายโมเดล

Main Article Content

ทรัพย์ อมรภิญโญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โครงการหนองคายโมเดล โดยแบ่งกระบวนการศึกษาออกเป็น 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การคัดเลือกสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อทราบถึงสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมที่สุด 2) การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อออกแบบต้นแบบสื่อประชาสัมพันธ์ 3) การคัดเลือกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อดำเนินการผลิตต้นแบบสื่อประชาสัมพันธ์ และ 4) การติดตามและประเมินผล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สนทนากลุ่มกับผู้รู้ และผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ทั้งหมด 4 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้วิจัย จำานวน 4 คน 2) กลุ่มผู้ผลิต จำานวน 6 คน 3) กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 10 คน และ 4) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และแบบบันทึกภาคสนาม เลือกผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ตามประสบการณ์และบทบาทที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบแผ่นพับประชาสัมพันธ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการเลือกแบบกำหนดโควตา แล้วนำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า โครงการหนองคายโมเดลมีการประชาสัมพันธ์ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ช่องทางออนไลน์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ โปรแกรมโลกเสมือนจริง spatial 2) ช่องทางออฟไลน์ ใช้วิธีปากต่อปาก ไม่มีเอกสารประชาสัมพันธ์ ผู้วิจัยจึงพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ แผ่นพับ ซึ่งมีความโดดเด่นในด้าน 1) เป็นสมาร์ทโบรชัวร์ในด้านรักษ์โลก 2) มีความสวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจ 3) แปลกใหม่ มีความแตกต่าง และ 4) มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบนแผ่นพับมีข้อมูลครบถ้วน ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มผู้ผลิต เป็นตัวกลางในการสื่อรายละเอียด ช่วยขยายตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในโครงการ และจากการประเมินผลพบว่า ได้รับการตอบสนองที่ดีจากผู้รับสาร เกิดการรับรู้เพิ่มมากขึ้น 160 เปอร์เซ็นต์ สามารถสร้างรายได้ และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนเป็นต้นแบบในการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ระดับพื้นที่ในวงกว้างและเป็นรูปธรรม


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chua, P. (2008). The best of brochure design 10. Rockport Publishers.

Davison, R. M., Martinsons, M. G., & Wong, L. H. (2022). The ethics of action research participation.

Information Systems Journal, 32(3), 573-594.

Khatasombun, H. (2020). Community potential development to create sustainable economic

foundations: Case study of Noen Sala Subdistrict, Krok Phra District, Nakhon Sawan Province. Journal of MCU Peace Studies, 8(2), 474-488.

Krairit, A., & Phanritdum, P. (2017). Application of 3Rs for plastic fuel tank industry. The Journal

of KMUTNB, 27(1). 101-110.

Manlee, N., & Hazanee, A. (2021). The development of printed media for public relations of

tourism of Songkhla heritage using augmented reality. Journal of Education Technology

and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 4(11), 7-19.

Nattaporn, W. (2013). The development of the public relation printed media for the department

of educational technology. Journal of Education Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 8(2), 48-58.

Nimitphan, W., & Balakanich, S. (2016). Public relations strategy on social media. EAU Heritage

Journal Social Science and Humanities, 6(1), 21-31.

Numbang, K., Ampavat, K., & Jadesadalug, V. (2021). The development of components of new

brand perception for brand loyalty. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat

University, 16(2), 23-44.

Nunjaiwong, J. (2020). Participatory action research on achieving empowerment among the groups of drug addicted individuals. Journal of Social Sciences, Law and Politics, 4(2), 1-22.

Putwattana, P. (2019). Public relations strategies of graduate study project. Dhonburi Rajabhat

University Journal, 13(2), 157-170.

Sittijan, R. (2014). Development of the resource sharing services for Mahasarakham Library

Network (MALINET). Information, 21(1), 78-90.

Tienngam, S. (2021). The development of early childhood nurturing according to executive

functioning and participatory research knowledge of early childhood pre-service teachers with executive functioning-based activities through online social media. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University, 10(2), 204-213.