รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบสังคมกับความยั่งยืนของธุรกิจ กรณีศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

Main Article Content

อุไรรัตน์ อภิวัฒนกุล
จินตวีร์ เกษมศุข

บทคัดย่อ

การดำาเนินธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรจะมุ่งหวังเพียงสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะการดำเนินธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบจากกระบวนการทำธุรกิจ ดังนั้นองค์กรต้องดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบสังคมที่มุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบความรับผิดชอบสังคมกับความยั่งยืนของธุรกิจ กรณีศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานะรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบสังคมของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบสังคมของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่นำาไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ และ 3) เพื่อทิศทางรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบสังคมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะนำาไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต


จากการศึกษาพบว่า บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น มีนโยบายการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจมีรูปแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมและส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างโอกาสในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น โครงการคอนเนกซ์อีดี และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ ที่เมื่อนำมาจัดรูปแบบแล้วมีความสอดคล้อง
กับแนวคิดของแนวคิดของ Phillip Kotler และ Nancy Lee (อ้างถึงใน Yoonprathom, 2007) ทั้ง 6 รูปแบบ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในการดำาเนินกิจกรรม CSR บริษัทฯ ควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงกลุ่มคนจากภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยการพัฒนา “แพลตฟอร์มแห่งความรับผิดชอบทางสังคม” ที่เป็นศูนย์รวมของผู้ที่มีองค์ความรู้รวมทั้งขยายกลุ่มพันธมิตรทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มากขึ้น และมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adeyemo, S. A., Oyebamiji, F. F., & Alimi, K. O. (2013). An Evaluation of factors InfluencingCorporate Social Responsibility in Nigerian Manufacturing Companies. International Journal of Academic Research in Economics and Management Sciences, 2(6), 54-63. https://www.jstor.org/stable/30162111?origin=JSTOR-pdf

Chumat, M. (2019, April 5). Stakeholder theory. https://pattanieconomy.wordpress.com/2019/04/stakehold/ [in Thai]

Freeman, R. E., Parmar, B. L., & Harrison, J. S. (2010). Stakeholder theory: The state of the art. The Academy of anagement Annals. https://www.researchgate.net/publication/235458104

Jaichansukkit, P. (2020). CSR communications & social issues. Expert Communication Journal, 2020, 92-94. http://www.prthailand.com/images/articles/expert-commu-responsibility.pdf [in Thai]

Kasemcheunyot, K. (2020). Thailand’s development on sustainable development goals. Journal of Chandrakasemsarn, 26(1), 19. [in Thai]

Kasemsuk, C. (2019). Stakeholder relationship management. Chulalongkorn University Printing. [in Thai]

Lou, X., & Bhattacharya, C. B. (2006). Corporate Social Responsibility, customer satisfaction, and market value. Journal of Marketing, 70(2006), 1-18. https://www.jstor.org/stable/30162111? origin=JSTOR-pdf

National Strategy Secretariat Office of the National Economic and Social Development Board. (n.d.). National strategy 2018-2037 (Summary). https://alro.go.th/uploads/org/admin_sys/download/article/article_20181029101644.pdf

Sustainable Business Development Institute. (2013). Social responsibility for corporate sustainability. Bangkok IDEOL Digital Print. [in Thai]

Sustainability Development of Capital Market. (2020). Sustainability development: SD. https://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/overview/cgandsustainablebusinessdevelopment.aspx [in Thai]

True Corporation. (2020). Sustainable intelligence for better living together. n.p. [in Thai]

Yoonprathom, A. (2007). CSR from Concept to Practice. Productivity World Journal, (2007), 25-29. http://www.tpconsult.co.th/news/CSR.pdf