ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและการรับรู้มาตรฐานท่องเที่ยวปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทยกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยว ผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) โดยมีประชากรตัวอย่างคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุสัญชาติไทย เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เดินทางเพื่อการพักผ่อนและใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในโรงแรมและสถานประกอบการที่ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและสปา ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Judgement Sampling) และใช้สถิติไคสแควร์ (Chi Square) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและการรับรู้มาตรฐานท่องเที่ยวปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทยสนใจมากที่สุดคือ การท่องเที่ยวเพื่อรักษาสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทยสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม 3 อันดับแรก คือ 1) กิจกรรมสปา/การนวดแผนไทย 2) กิจกรรมการทำจิตใจให้สงบ และ 3) กิจกรรมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานจะเป็นผู้มีส่วนร่วมเดินทางและร่วมทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและส่วนใหญ่จะเลือกทำกิจกรรมในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวและเทศกาล โดยมีความถี่ในการใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2 ครั้ง/เดือนส่วนปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .015 .001 .029 และ .024 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทยได้ให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์และบริการมากที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและบริการหรือด้านที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการปัจจุบันของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทย และเน้นกลยุทธ์การใช้การส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้น เช่น จัดโปรโมชันสิทธิพิเศษและส่วนลดพิเศษเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เข้ามากระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในสถานประกอบการของตน เป็นต้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและเลือกใช้บริการได้เร็วขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวควรสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือด้านเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Department of Older Persons. (2021). Measures to implement national agenda on aged society (2nd ed.). Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. [in Thai]
Global Wellness Institute. (2018). Global wellness tourism economy November 2018. https://thueringen.tourismusnetzwerk.info/download/pdf-statistik/Global-Wellness-TourismEconomy-engl._Global-Wellness-Institute.pdf
Jaito, W. (2011). Factors affecting the choice of 3G mobile phones [Master’s thesis]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2221/1/143573.pdf
Jadjumras, N. (2012). Factors influencing in consumption of grill in Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province [Master’s thesis]. Chiang Mai University. https://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1518311 [in Thai]
Jotikasthira, C., Puangniyom, P., & Komolnila, N. (2020). Thai senior tourists and nostalgia in hotels. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University (LRUJ), 16(55), 1-12. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/245023
Krutwaysho, O., Yamma, Y., Srina, P., Julapan, P., Wajanakhampee, T., & Treesuk, W. (2021). Tourism development through the service marketing concept from the perspectives of Gen Y tourism traveling in Chiangmai during the COVID-19 pandemic crisis.
Rajapark Journal, 15(41), 242-258. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/download/251262/171482/906791 [in Thai]
Prachachat Online. (2022, December 1). Change the direction of tourism-challenge. https://www.prachachat.net/columns/news-1133976 [in Thai]
Pinyochuto, S. (2006). A model of health tourism management of the local organization with the co-operation of The Ban Khuangbuk Community, Huay-Rai Sub-district, Denchai District, Phrae Province [Master’s thesis]. Uttaradit Rajabhat University. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/URU0008/URU0008_fulltext.pdf [in Thai]
Sangkakorn, K. (2013). Tourism management and administration in the upper North of Thailand for supporting senior tourists. Thailand Science Research and Innovation.
Sangiamngam, M. (2019). Service marketing mix factors effect on the achievement of health promotion Tourism for Thai elderly. Thai-Nichi Institute of Technology. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/fles/Res%20Pim%2024%20July%202021/Mira%20
Saengamngam%20Res%20BA%202017.pdf [in Thai]
Serirat, S., Laksitanon, P., & Serirat, S. (2009). Modern marketing management. Thammasarn. [in Thai]
Sriampornekkul, L. (2018). Quality tourism for senior tourists. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 4(1), 12-28. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/125751/95216 [in Thai]
Sripol, P., Phakdeeying, R., & Kowithayakorn, V. (2019). Marketing strategy of health-promotional tourism business in the Northeast of Thailand. Dhammathas Academic Journal, 19(1), 123-132. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/download/
/128467/519335 [in Thai]
Sucharitkul, J. (2019). Transformational leadership among administrators of the local government administration in Thailand 4.0 era: A case study of Phuket Local Government Administration. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 4930-4943. https://so03.tci-thaijo.
org/index.php/JMND/article/download/215639/162262/805428 [in Thai]
Thaitgri. (2020). Situation of the Thai elderly 2019. https://thaitgri.org/?wpdmpro=situation-ofthe-thai=eldery-2019 [in Thai]