การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลายหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว
ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Chitchayawanit, K. (2019). Learning management. Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Glatthorn, A. A. (1984). Differentiated supervision. Association for Supervision and Curriculum Development.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). Supervision and instructional leadership: A developmental approach (10th ed.). Pearson.
Harris, B. M. (1985). Supervision behavior in education. Englewoof Cliff.
Higher Education Statistics Agency. (2016). International baccalaureate students studying at UK higher education institutions: How do they perform in comparison with a level student? IBO. https://ibo.org/contentassets/d74675437b4f4ab38312702599a432f1/
hesa-summary-eng-web.pdf
Hill, I. (2007). International education as developed by the International Baccalaureate Organization. In M. Hayden, J. Thompson, & J. Levy (Eds.), Sage Handbook of Research in International Education (pp. 25-37). Sage.
International Baccalaureate Organization. (2009). The diploma programme: From principles into practice. IBO. https://www.ibchem.com/root_pdf/Principles.pdf
International Baccalaureate Organization. (2012). Key Finding from research on the impact of IB programmes in the Asia-Pacific region. IBO. https://issuu.com/ibasiapacific/docs/ research_impact-ib-programmes-asia-pacific
International Baccalaureate Organization. (2016). Programme standards and practices. IBO. https://www.ibo.org/globalassets/publications/become-an-ib-school/programme-standards-and-practices-en.pdf
International Baccalaureate Organization. (2020). Facts about IB programmes and schools. IBO. https://www.ibo.org/about-the-ib/facts-and-figures/
International Baccalaureate Organization. (2022). Professional development. IBO. https://www.ibo.org/professional development/
Knowles, M. S., Holton, E. F., & Swansob, R. A. (2011). The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development (7th ed.) Boston Elsevier.
Laowreandee, W. (2013). Instructional supervision and coaching professional development: theory, strategies, and practice (12th ed.). Silpakorn University Press. [in Thai]
L’Huillier, N. (2017). A study of supervisory skills of administrators through teacher’s perceptions in the international schools of international baccalaureate diploma programme. An Online Journal of Education (OJED), 12(1), 521-534. [in Thai]
Pimwapee, K. (2020). Instructional supervision models affecting the change of teaching behaviors of science teachers. Journal of Education Studies, 48(1), 22-40. [in Thai]
Sudrung, J. (2016). In school supervision. Protexts. [in Thai]
Theeranaew, M. (2021). The study of conditions in teaching and learning science within the International Baccalaureate (IB) programme for secondary level in Thailand [Master’s thesis]. Kasetsart University. [in Thai]