แนวทางการจัดสร้างที่พักแบบโฮมสเตย์ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อนุชิต จันทรโรทัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ และสภาพทั่วไปของโฮมสเตย์ที่ยังให้บริการ 2)ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 3)สำรวจแนวทางการสร้างโฮมสเตย์ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับที่พักใกล้เคียงกับที่พักแบบโฮมสเตย์โดยการเลือกเจาะจง จำนวน 35 แห่ง และที่พักตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยที่คงมีอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแบบสอบถามความต้องการที่มีต่อที่พักโฮมสเตย์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในเชิงคุณภาพมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี เช่น การสังเกตและการสนทนาเป็นทางการโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 26 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพทั่วไปโดยส่วนใหญ่ด้านที่พักสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1-3 คนต่อห้อง/หลัง ด้านอาหารและเครื่องดื่มใช้วัสดุ/วัตถุดิบท้องถิ่น มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มียาสามัญประจำบ้านและเครื่องมือปฐมพยาบาลที่มีสภาพใช้ได้ทันที เจ้าของบ้านและสมาชิกให้การต้อนรับที่อบอุ่น มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีรายการนำเที่ยวที่ชัดเจน มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อเป็นของที่ระลึกของฝาก แต่ยังไม่มีการจัดทำของที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านแต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่พัก ส่วนการประชาสัมพันธ์มีเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชนด้วยตนเอง


ในส่วนความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์พบว่า ระดับความต้องการภาพรวมอยู่ในระดับมากสำหรับแนวทางการสร้างโฮมสเตย์ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชนพบว่า ควรมีทำเลใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและมีเนื้อที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม มีบรรยากาศความร่มรื่นไม่ต้องปรุงแต่งคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพัก ควรนำอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนมาปรับใช้ในการตกแต่งโฮมสเตย์หรือพื้นที่ส่วนกลาง และอยู่ในสถานที่ที่เข้าถึงไม่ลำบากมากนัก มีประวัติความเป็นมาของชุมชน เรื่องเล่า มีกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรียนรู้ มีเมนูอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น มีแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ และสินค้าในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง เป็นจุดร่วมหรือศูนย์รวมของความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน มีมาตรฐานที่พักตามข้อกำหนดของกรมการท่องเที่ยวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการที่พักก่อให้เกิดรายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Tourism. (2015). Thailand homestay standard. Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Duangpikul, K., & Methaphan, J. (2018). Homestay and sustainable tourism management in Nan Province. Journal of Graduate Research, 9(1), 217-234. [in Thai]

Hannarong, P. (2013). The study of floating-basket homestay’s quality for tourism a case study of floating-basket homestay in Pae Subdistrict, Mueang District, Rayong Province [Master’ s thesis]. Dhurakij Pundit University. [in Thai]

Janchur, C. (2019). A education of suitability for development mechanism for local research management, community-based tourism in peasant way by associate member in lower north in Thailand. The Thailand Research Fund. [in Thai]

Khampheeraphan, C., & Narisara, K. (2018). Tourist satisfaction toward the services of Kumpee Homestay, Kumpee Subdistrict, Borabue District, Maha Sarakham Province. Maha Sarakham University. [in Thai]

Kheawhom, K., & Khemakhunasai, P. (2017). The Body of Knowledge on Homestay Accommodation in Thai Context (B.E. 2544-2558). In Proceeding of The 8th Hatyai National and International Conference (pp. 161-173). Hatyai University. [in Thai]

Koedmenul, M. (2018). Factors affecting foreign tourists traveling to homestay in Thailand: A case study of homestay in Southern area. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 12(2), 110-120. [in Thai]

Montree, K. (2018). Factors affecting foreign tourists traveling to homestay in Thailand: A case study of homestay in Southern area. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 12(2), 110-120. [in Thai]

Munthon, P. (2013). Opinions of tourists on service of peace garden homestay, located in Pak Tho, Ratchaburi Province, using Thai home stay standard [Master’ s thesis]. Dhonburi Rajabhat University. [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2023). The twelfth national economic and social development plan (2023-2027). https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13 [in Thai]

Panalaisampan, C. (2016). A managing development of tourism system in Karen youth, located in Phamon Village, Doi Inthanon National Park, Chiang Mai for paticipate in sustainable tourism. The Thailand Research Fund. [in Thai]

Srilachai, A. (2016). Guidelines for sustainable tourism management for community-based torism, a case study of Ban Kokmuang, Jorakhemak, Prakhonchai District, Buriram Province [Master’ s thesis]. Bangkok University. [in Thai]

Sukanthasirikul, K. (2015). Developing of services marketing capability of homestay standard in Nakorn-Ratchasima Province. Suranaree University of Technology. [in Thai]

Toeypho, K., & Phothibat, P. (2018). Homestay culture: Developing model of management tourism by community Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 5(1), 20-40. [in Thai]

Tourism Authority of Thailand. (2023). Recommended attractions. http://thai.tourismthailand.org [in Thai]

Weeraphan, P. (2020). The problem of applying the laws regarding the security control of the residents in the lodging businesses, other than hotel businesses, in Sangkom area, Nongkhai. The Journal of Pacific Institute of Management Science, 6(1), 1-13. [in Thai]