การศึกษาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคกลาง

Main Article Content

พรรณิกา ชวนาทนุสรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปในระดับอุดมศึกษา โดยจำแนกตามปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 2) วิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และ 3) เสนอแนวทางการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เรียนวิชาภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน 243 คน จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคกลางโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบทดสอบทักษะการพูดรายบุคคล และเกณฑ์ประเมินทักษะการพูดภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างผ่านการทดสอบรายบุคคลโดยคัดเลือกนักศึกษา 2 คน จากแต่ละสถาบัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ความผิดพลาด


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาชาจีน พบว่า 1.1) นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานภาษาจีนมาก่อนมีคะแนนเฉลี่ยปัญหาด้านการพูดสูงกว่านักศึกษาที่มีพื้นฐานมาก่อน 12 นักศึกษาที่เรียนภาษาจีนมาน้อยกว่า 1 ปี มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาในการพูดสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ และ 1.3) กลุ่มที่เรียนภาษาจีนมา 1-2 ปี มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาการพูดสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนมา 3-4 ปี และนักศึกษาที่มีชั่วโมงเรียน 1 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาการพูดสูงกว่านักศึกษาที่มีชั่วโมงเรียน 3 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. ข้อผิดพลาดในปัญหาในการพูดภาษาจีนของนักศึกษาส่วนใหญ่คือ นึกคำศัพท์ไม่ออก โดยความผิดพลาดจากการทดสอบการพูดมีหลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ การใช้คำตกหล่น การใช้คำเกิน การใช้คำศัพท์ผิด และการเรียงลำดับคำผิด


3. แนวทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป ควรคำนึงถึงความรู้เดิมของนักศึกษาประกอบกับการจัดการเรียนสอนเพิ่มเติมคือเป็นการจัดการเรียนรู้แบบนักศึกษาเป็น ศูนย์กลาง โดยมีแนวทางแนะนำ 6 ประการ ดังนี้ 3.1) ผู้สอนแบ่งอำนาจในรายวิชาให้กับนักศึกษาและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 3.2) ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำในการแก้ไขและให้กำลังใจต่อความผิดพลาดในการพูดภาษาจีน 3.3) นักศึกษามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 3.4) เนื้อหาที่เรียนมีความเชื่อมโยงกับในชีวิตจริง 3.5) การประเมินผลการเรียนรู้มุ่งให้เกิดการพัฒนาตนเองของนักศึกษา และ 3.6) สร้างให้นักศึกษาเกิดการรับรู้อัตลักษณ์ของตนเองในทางบวกต่อวิชาภาษาจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alsowat, H. H. (2022). Evidence-based practices of english language teaching: A meta-analysis of meta-analyses. English Language Teaching, 13(11), 75-93.

Bai, S. (2023). The predictive effects of foreign language anxiety and boredom on willingness to communicate among Chinese struggling EFL learners. Heliyon, 9(9), 1-11. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2023.e19610

Bartz, W. H. (1979). Testing oral communication, in the foreign language classroom: Language in education: Theory and practice. The Centre for Applied Linguistic.

Batmaz, Ö. (2023). The effect of student-centered teaching practices on the development of speaking skills in turkish teaching: A meta-analysis study. Journal of Language Education and Research, 9(1), 59-105.

Brown, D. H. (2014). Principles of language learning and teaching (6th ed.). Pearson Education ESL. Byrne, D. (1987). Techniques for classroom interaction. Longman.

Clark, J. L. D. (1972). Foreign language testing : Theory and practice. Centre of Curriculum Development.

Curran, C. A. (1976). Counseling-learning in second-language learning. Apple River Press.

Domesrifa, K. (2008). A study of using oral communicative activities to enhance english speaking ability of Mattayomsuksa one students [Unpublished Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Dulay, H., Burt, M., & Krashen, S. D. (1982). Language two. Oxford University Press.

Dweck, C. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Finocchiaro, M., & Brumfit, C. (1983). The functional-Notional approach: From theory to practice. Oxford University Press.

Harris, D. P. (1990). Testing English as a second language. McGraw Hill.

Hasyim, S. (2002). Error analysis in the teaching of English. Kata, 4(1), 62-74.

Hoidn, S., & Reusser, K. (2021). Foundations of student-centered learning and teaching. In S. Hoidn, & M. Klemenčič (Eds.), The routledge international handbook of student-centered learning and teaching in higher education (pp. 17-46). Routledge.

Hyltenstam, K. (1992). Non-native features of near-native speakers: On the ultimate attainment of childhood L2 learners. Advances in Psychology, 83, 351-368.

Kaput, K. (2018). Evidence for student-centered learning. Education Evolving. Malasri, T., & Wei, J. R. (2017). Teaching strategy for developing Thai students’ Chinese listening and speaking skills. ARU Research Journal, 4(3), 79-87. [in Thai]

Meecharoen, K. (2020). The development of Chinese listening and speaking ability based on task based learning with multimedia of Mattayomsuksa1 student [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University. [in Thai]

Oller, J. W. (1979). Language tests at school: A pragmatic approach. Longman.

Shumin, K. (2002). Factors to consider: Developing adult EFL students’ speaking abilities. In J. C. Richards, & W. A. Renandya (Eds.), Methodology in language teaching: An anthology of current practice (pp. 204-211). Cambridge University Press.

Sundarajamara, W., Sae-Jia, H., Chatbumrungsuk, P., Piyasirikul, K., Wasinanon, N., & Sriyanalug, K. (2016a). Research report to develop a system for teaching Chinese language in elementary level, Thailand. Office of the Education Council, Ministry of Education. [in Thai]

Sundarajamara, W., Sae-Jia, H., Chatbumrungsuk, P., Piyasirikul, K., Wasinanon, N., & Sriyanalug, K. (2016b). Research report to develop a system for teaching Chinese language in Thailand, Synthesize overview. Office of the Education Council, Ministry of Education. [in Thai]

Valette, R. (1977). Modern language testing. Harcourt Brace Javanovich Inc.

Weimer, M. (2002). Learner-centered teaching: Five key changes to practice. Jossey-Bass.

Wright, G. B. (2011). Student-centered learning in higher education. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 23(3), 92-97.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Harper & Row.

Yuanchuen, P. (2010). A comparison of Matthayom Suksa II students’ listening, speaking ability and interest in learning English through the instruction using learning center activities based on the natural and the traditional approaches [Unpublished master’s thesis]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Ur, P. (1996). A Course in language teaching. Cambridge University Press.