การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ สู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบฉกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสุ่มมาแบบกลุ่ม 400 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจากโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง และมีคุณลักษณะของผู้ประกอบการฯ ได้แก่ สุขภาพดี มีความมั่นคงทางจิตใจ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ บริหารจัดการได้ มีความเชื่อมั่น และมั่นคงทางการเงิน 2) ปัจจัยและองค์ประกอบ กระบวนการ ได้แก่ 2.1) การมีส่วนร่วมกำ หนดความต้องการ ร่วมดำ เนินงาน ร่วมรับผิดชอบ และร่วมประเมินผล 2.2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ และ 2.3) แรงจูงใจ ต้องการประสบความสำเร็จ และมีรายได้ และ 3) รูปแบบการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 3.1) Input ผู้สูงอายุที่คุณลักษณะตามผลการศึกษาข้อ 1 3.2) Factors ปัจจัยและองค์ประกอบตามผลการศึกษาข้อ 2 3.3) Process ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบท การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การดำ เนินการจัดการเรียนรู้ และการขยายผลและพลิกแพลง และ 3.4) Output ผู้สูงอายุมีทักษะ และความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ดังนั้นจึงเรียกโมเดลนี้ว่า “CLLLS MODEL”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Department of Elderly Affairs. (2017). Thai elderly power index. https://shorturl.asia/gB0hf
Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles. Peter Honey Publications.
In-Teriya, M. (2017). Social capital. Nakkhabut Prarithat Journal, 9(2), 14-25.
King Mongkut’s University of Technology Thonburi. (2017). Teaching and learning management manual, project to develop teaching methods and extra-curricular activities in entrepreneurship. https://shorturl.asia/d34pI
Kongcharoen, M., & Boriboon, B. (2020). Research report on school model development elderly people using the community as a base. Srinakharinwirot University.
Mallikamarn, S. (2002). The constitution and public participation in its protection natural resources and the environment. https://shorturl.asia/Oic19
MGRonline. (2022). Loop! in the next 10 years, “bedridden patients” will increase: There will be more people who are single and do not have children, it recommended to introduce the policy “Income Guarantee”. https://n9.cl/rbr84
Noisommit, S., & Kantiya, C. (2019). Participation of the public sector in public policy. The Journal of Research and Academics, 2(1), 101-116.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). 20 year national strategy. https://www.nesdc.go.th/nesdb_en/main.php?filename=index
Sukonpak, M., & Bunchuaythanasit, K. (2017). Conceptual health elements the energetic state of the elderly: A systematic review of the literature. BCNNON Health Science Research Journal, 11, 53-63.
Suwan, P., & Therawiwat, M. (2021). From “Phutta power” to “Phutta health condition”. Thai Journal of Health Education, 44(1), 12-29.
Wattanawong, S. (2004). Readiness for self-directed learning of continuing vocational education learners. Srinakharinwirot University.
Wongkeenee, W., Chintanawat, R., & Sucamvang, K. (2013). Factors predicting the power of urban population Chiang Mai Province. Thai Journal of Nursing, 40(4), 91-99.