การประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ให้กับสังคมไทยจากโปสเตอร์แคมเปญโฆษณาไก่เคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ให้กับสังคมไทยจากโปสเตอร์แคมเปญโฆษณาไก่เคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก งานนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาตัวบทซึ่งเป็นโปสเตอร์จากแคมเปญตรุษจีนของเคเอฟซี ประเทศไทย จำ นวน 7 ชิ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2567 เผยแพร่บนเฟซบุ๊กเคเอฟซี ประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แนวคิดสัญวิทยา แนวคิดโลกาภิวัฒน์ และแนวคิดเทศกาลตรุษจีนเป็นเลนส์ในการอธิบายปรากฏการณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตสินค้าประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ผ่านสื่อโปสเตอร์ในช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างความหมายจากการผสมผสานเอกลักษณ์ของแบรนด์ระดับโลกเข้ากับคุณค่าที่กลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนยึดถือ กลยุทธ์หลักในการสร้างความหมาย ได้แก่ การใช้องค์ประกอบของเอกลักษณ์หลักของแบรนด์เคเอฟซี การผสมผสานชุดความหมายจากประเพณีจีนแบบดั้งเดิม และการใช้นักแสดงวัยรุ่นไทยเชื้อสายจีน โฆษณาเคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนเป็นตัวอย่างการนำแนวคิด การผสมผสานความเป็นโลกและความเป็นท้องถิ่น (Glocalization) โดยเคเอฟซีปรับองค์ประกอบของแบรนด์ระดับโลกให้เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างสมดุล ชุดความหมายที่ผู้ผลิตเลือกมาใช้ในการสร้างสินค้าสัญญะเป็นการผสมผสานเชิงวัฒนธรรมระหว่างความเป็นสากลกับความเป็นจีน ส่วนความเป็นไทยที่ปรากฏมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การใช้สัญญะในการโฆษณาเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตได้สร้างความหมายชุดใหม่ซึ่งสะท้อน ค่านิยมความเชื่อของกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นและชุดความหมายเหล่านั้นล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Boonmee, T. (2008). Saussure’s semiotics revolution: The path to Postmodernism. Wipasa. [in Thai]
Corrigan, P. (1997). Sociology of consumption. SAGE Publications.
Ewen, S. (1976). Captain of consciousness. Mcgraw-Hill.
Glomjai, C. (2016). Communication and the construction of meanings and tastes in a consumption of Sushi in Thai society [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]
Horowitz, R. (2006). Putting meat on the American table. The John Hopkins University Press.
Kaewthep, K., & Hinviman, S. (2008). Stream of thinkers, theories of political economy and communication studies. Parp-Pim. [in Thai]
Kijwisala, K. (2016). Communication of meaning of Thai food in Thai fine dining restaurants. Warasarnsart, 9(3), 45-47. [in Thai]
Kornantakiat, J. (1996). Teung-Nang-Kia. Praew Printing. [in Thai]
Leiss, W., Kline, S., Jhally, S., & Botterill, J. (2005). Social communication in advertising. Routledge.
Levitt, T. (2010). The globalization of markets. In M. F. Steger (Ed.), Globalization the greatest hits (pp. 16-32). Paradigm Publisher.
Malefyt, T. D., & Moeran, B. (2003). Introduction: Advertising cultures-advertising, ethnography and anthropology. In T. D. Malefyt, & B. Moeran (Eds.), Advertising cultures (pp. 1-33). Berg Publisher.
Palapreewan, P. (2019). Media and consumer culture unit 10. In Media studies (p. 10-1-10-72). Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Pansook, A. (2009). Chicken and lifestyle of Laan Na people. Suthep Printing. [in Thai]
Pieterse, N. J. (2009). Globalization & culture. Rowman & Littlefield Publishers, Inc.
Robertson, R. (1993). Globalization. SAGE Publications.
Sombatsiri, K. (1986). Jek-Sakdina. Parp-Pim. [in Thai]
Thipyorlae, S. (2019). Communication and consumption of signs for brand name clothing of middle class’s [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]
Uaetrakoolwit, P. (2015). Manual of chinken bone analysis. Faculty of Archaeology, Silpakorn University. [in Thai]
Williamson, J. (1978). Decoding advertisements: Ideology and meaning in advertising. Marion Boyars.
Domestic Economy. (2024). Chinese new year 2024 is bustling. The Thai Chamber of Commerce expects spending close to 50 billion. https://www.prachachat.net/economy/news-1494930 [in Thai]
Fox, A. (April 13, 2020). Hares and chicken were revered as gods- not food-in ancient Britain. Smithsonian Magazine. https://www.smithsonianmag.com/smart-news/hares-and-chickens-were-godsnot-food-ancient-britain-180974663/
KFC Thailand. (2018). Heng campaign. https://www.facebook.com/kfcth/photos/a.135993533122352/1584512998270391/?type=3&locale=th_TH [in Thai]
KFC Thailand. (2020). Chinese new year chicken. https://www.facebook.com/photo/?fbid=2687766194611727&set=a.135993533122352 [in Thai]
KFC Thailand. (2021). Ruay Kai campaign. https://www.facebook.com/photo/?fbid=3697319753656361&set=a [in Thai]
KFC Thailand. (2022). Kai Pa Heng campaign. https://www.facebook.com/kfcth/photos/a.135993533122352/4756373994417593/?type=3 [in Thai]
KFC Thailand. (2023). Heng Heng bucket. https://www.facebook.com/photo/?fbid=2687766194611727&set=a.135993533122352 [in Thai]
Lifestyle. (2024). Welcome to the year of the Dragon. Revealing the history of “Chinese new year” 2024. Importance-Worship Ceremony. https://www.thaipbs.or.th/news/content/336366 [in Thai]
WP. (2022). “KFC Thailand” opens 1,000 branches. Top 10 in the world with the most branches! Find the answer: How important is “branch”? https://www.marketingoops.com/news/biz-news/kfc-thailand-branch-expansion-strategy/ [in Thai]