การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นสมรรถนะปฏิบัติการจัดนำเที่ยวสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อเตรียมกำลังคนสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย 4.0 กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฯ 2) พัฒนาหลักสูตรฯ 3) ทดลองใช้หลักสูตรฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีวิธีการวิจัย 4 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ โดยระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว 40 คน และกลุ่มนักศึกษาที่มีประสบการณ์ต่อธุรกิจการท่องเที่ยว 66 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย 5 คน ที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาหลักสูตรฯ ทำการประชุม กลุ่มย่อยเพื่อประเมินบริบท และยกร่างหลักสูตรฯ ในระยะที่ 2 แล้วประเมินปัจจัยนำ เข้าด้วยการสัมมนาอิง ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตรฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรฯ กับกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 กำหนดโควตา 2 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 26 คน ซึ่งกลุ่มที่ 1 ทดลองใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล และกลุ่มที่ 2 ทดลองปฏิบัติการจัดนำเที่ยว โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน Paired–Sample t-test จากแบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม ระยะที่ 4 เจาะจงกลุ่มเป้าหมายจากผู้ใช้หลักสูตร 30 คน ประเมินผลผลิตจากประสิทธิผลหลักสูตรฯ โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาดัชนีความสอดคล้องเป็นเครื่องมือ และใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ทั้งกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและนักศึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันประเด็นประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะปฏิบัติการระหว่างนำ เที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยต้องการเสริมสมรรถนะปฏิบัติการนำ เที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงประเมินบริบทสรุปเนื้อหากับสมรรถนะ และยกร่างหลักสูตรฯ ในระยะที่ 2 มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) สมรรถนะสำคัญ 4) โครงสร้างและเนื้อหา 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และความเหมาะสมระดับมาก ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้หลักสูตรฯ แบ่งเป็นผลการทดลองใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลของกลุ่มที่ 1 ซึ่งแบบทดสอบ และแบบประเมินสมรรถนะ มีประเด็นเนื้อหาสื่อสารเข้าใจ โดยแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นสูงเท่ากับ 0.95 จึงนำ ไปใช้กับกลุ่มที่ 2 พบผลประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจจากคะแนนทดสอบหลังฝึกอบรมมีค่าสูงขึ้นกว่าคะแนนทดสอบก่อนฝึกอบรม เปรียบเทียบค่า t เป็น 9.048 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนทดสอบสมรรถนะปฏิบัติการจัดนำ เที่ยวสูงกว่ามาตรฐานที่กำ หนดร้อยละ 80 ชี้วัดประสิทธิผลด้านทักษะและสมรรถนะอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็น และระยะที่ 4 สรุปผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด จึงตัดสินผลว่าหลักสูตรนี้ดี และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Ajin, S. (2021). Curriculum development. Khon Kaen University Printing House. [in Thai]
Boonkheereerut, J., & Jaritthai, N. (2020). The information technology in the digital world to the changes in tourism styles. Panyapiwat Journal, 12(2), 285-301. [in Thai]
Insorn, P. (2011). Development of an adaptive student guidance model to promote logical thinking ability in intelligence-based learning [Master’s thesis]. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]
National Economic and Social Development Board. (2019). 20-year national strategic plan (2018-2037). https://www.nesdc.go.th
Nilpan, M. (2010). Manual for graduate-level curriculum evaluation. Graduate School, Silpakorn University. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Report on the progress of the implementation of the national reform plan and development according to the National Economic and Social Development Plan No. 12. Office of the National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister. [in Thai]
Office of the Secretary of the National Strategy Committee. (2017). 20-year national strategic plan (2018-2037). https://www.nesdc.go.th
Patthanamethada, W. (2017). Learning management. https://www.kansuksa.com
Rithjaroon, P. (2015). Curriculum evaluation: Process concepts and use of evaluation results. STOU Journal of Education, 8(1), 13-28.
Suwanadee, S. (2016). A study of desirable characteristics and excellent competency framework of professional labor demanded by the ASEAN Economic Community: A case study of the tourism profession in the travel sector. Kasem Bundit University.
Thongpanit, P. (2013). Curriculum development, theories, principles, concepts, directions, trends. Silpakorn University Printing House, Sanam Chandra Palace Campus. [in Thai]
Tiengkamon, N. (2011). Holistic integrated research. Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Wechayanon, N. (2016). Competency-based approach. The Graphico Systems. [in Thai]
Wongyai, W. (2011). Comprehensive curriculum development [Teaching documents for the subject theory of curriculum development and change]. Graduate School, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Yothasingh, A., & Kamjadpai, S. (2016). Developing a training curriculum based on the learning concept combined to strengthen teachers’ competency in learner-centered assessment primary level. Silpakorn Educational Research Journal, 8(2), 270-283. [in Thai]