ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อเข้าสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในประเทศไทย

Main Article Content

ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้องค์กรพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (2) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรในองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติการของพนักงานขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (4) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติการขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถดถอยเชิงพหุ t-test และ ANOVA 
            ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เพศหญิง อายุ 31-40 ปี ปริญญาตรี สถานภาพโสด ตำแหน่งพนักงาน รายได้มากกว่า 45,000 บาทต่อเดือน ประสบการณ์ทำงาน 11 ปีขึ้นไป 2) การปฎิบัติของบุคลากรตามหลักการอุปนิสัยสีเขียว (7 R’s) ในองค์กรเพื่อการพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญ การคิดก่อนใช้ (Rethink) การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) การนำไปผ่านกระบวนการเพื่อมาใช้ใหม่ (Recycle) การสร้างทดแทน (Return) อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ทำให้องค์กรเข้าสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญทุกปัจจัยในระดับมาก 4) กระบวนการขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้านการปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวการตลาด และด้านการปฎิบัติขององค์กรเกี่ยวกับธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญทุกปัจจัยในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ด้านการปฏิบัติขององค์กรด้านการตลาดเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเขียนความสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบของ 7 R’s และปัจจัยที่ทำให้องค์กรเข้าสู่องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

References

บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด (มหาชน). (2555). ปัจจัยที่ทำให้องค์กรเข้ําสู่องค์กรสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556, จาก www.loxleyconstruction.com

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2555). ความยั่งยืนที่ต้องรายงาน. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556,จาก http://pipatory.blogspot.com/2012/04/blog-post.html

เพลินทิพย์ โกเมศโสภา. (2541). กํารจัดกํารด้ํานกํารตลําดเพื่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทสินค้ําอุปโภคบริโภคชั้นนำในประเทศไทย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรณัฐ เพียรธรรม. (2554). 7 อุปนิสัยสีเขียว. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย. (2556). CSR Club, CSR Thailand Conference 2013. สืบค้นเมื่อ 8 พ.ค. 2556, จาก www.manage.co.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). กํารพัฒนําเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.nesdb.go.th/

อดิศร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสีเขียว. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

A. Coskun Samli. (1992). Social Responsibility: A Historical Perspective Greenwood. Texas: Publishing Group Incorporated, USA.

Dahlstrom, R. (2011). Green Marketing Management. Ohio: South – Western Cengage Learning, USA.

ESCAP. (2012). Developments in the concept of Corporate Social Responsibility. Retrieved July 5,2013, from http://www.greengrowth.org/sites/default/files/pictures/LCGGRM-SummaryThai.pdf

Firat, D. (2009). Demographic and Psychographic Factors that Affect Environmentally Conscious Consumer Behavior: A Study at Kocaeli University in Turkey. The Journal of American Academy of Business, 14(2): 323-329.

Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility. New Jersey: John Wiley & Sons, U.S.A.

McKay, K., Bonnin, J. & Wallace, T. (2007). True Green. “National Geographic 2007-04-10 True Green at Work: 100 Ways You Can Make the Environment Your Business True Green”. New York: National Geographic Publisher, U.S.A..

Moisande, J. (2007). Motivational complexity of green consumerism. International Journal of Consumer. 31(4), 404-409.

OECD. (2011). Principles of Coporate Governance and CSR. Retrieved July 5, 2013, from http://www.springerreference.com/docs/html/chapterdbid/349552.html

Translated Thai References

Kometsopa, P. (1998). Marketing Management for the Environmental Company in Thailand. Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University, Bangkok [in Thai]

Itsarangkul na Ayudhya, A. (2011). Sufficiency and Green Economy. Economic Development Division, NIDA, Bangkok. [in Thai]

Loxley Public Company Limited. (2012). The Factor Related to Sustainable Company. Green Logistics Energy Saving. Retrieved July 5, 2013, from www.loxleyconstruction.com [in Thai]

Office of the National Economies and Social Development Board, (2013). Economy and Social Development. Retrieved July 5, 2013, http://www.nesdb.go.th/ [in Thai]

Piantam, W. (2011). 7’s Green Habits. Bangkok: Wanida Printing. [in Thai]

Thai Listed Companies Association. (2013). CSR Club CSR Thailand Conference 2013. Retrived May 8, 2013, from www.manage.co.th [in Thai]

Yodprudtikan, P. (2012). Sustainability Report. Retrieved July 5, 2013, from http://pipatory.blogspot.com/2012/04/blog-post.html [in Thai]