ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เขมมารี รักษ์ชูชีพ
จิตรลดา ตรีสาคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร
มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือประชาชนผ้ที่ใช้สิทธิของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นในปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวมในระดับปานกลางและในด้านบริการยาและเวชภัณฑ์เป็นลำดับแรก และมีระดับความคิดเห็นในประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมในระดับปานกลาง และในด้านการทำงานต้องเชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็นหลักฐานเป็นลำดับแรก พบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ล้วนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่า ปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวมกับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง ส่วนปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพกับระดับประสิทธิภาพการ
บริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการตติยภูมิ ด้านการแพทย์แผนไทย และด้านบริการยาและเวชภัณฑ์กับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง ปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ส่งผลทำให้เกิดอิทธิพลต่อระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract
The research on “Management Efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok” had the objectives as follows: 1.To study on the Universal Coverage Health Security System in Bangkok 2. To study on Management Efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok 3. To study the problems and obstacles as well as provide the recommendations related to management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok.
This research was the quantitative study on 400 samples who applied the Universal Coverage Health Security System rights in Bangkok. The convenience sampling technique was applied while questionnaire was used as a tool for data collection. The statistics used here were frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, F test, correlation, and multiple regression.
The research results found that overall the respondents had the moderate levels of opinion toward the factors of Universal Coverage Health Security System in Bangkok and the first priority was on drugs and pharmaceuticals service. They tended to have the overall opinions on the management efficiency towards Universal Coverage Health Security System at the moderate level and priority was on the aspect of work that it should be reliable, immediate, capable, and having registered evidences. It was found that from the factors of gender, age, education levels, occupation and incomes; all seem to have the relationship with management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok. In addition, it was found that the overall factors of the Universal Coverage Health Security System and the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the high level of relationship. While the factors of Universal Coverage Health Security System regarding the healthcare service units and the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the moderate relationship level. For the factors of Universal Coverage Health Security System regarding the Tertiary care units, Traditional Thai medical, and drugs and pharmaceuticals service and the level of
management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the high relationship level. The factors of the Universal Coverage Health Security System had the relationship that influenced on the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok at the statistical significant level of 0.05.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัล บางประเสริฐ. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง: ศึกษากรณีด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์.

ชุมศักดิ์ ชุมนุม. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ: กรณีศึกษาเขตการศึกษา 10. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิพัฒน์ เอกภาพันธ์. (2536). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามโครงการใช้จ่ายเงินอุดหนุนหมู่บ้านของคณะกรรมการหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (กม.อพป.). ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). รายงานการสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

สุรสม กฤษณะจูฑะ และคณะ. (2550). สิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชน. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).

Translated Thai References

Bangprasert, J. (2009). Factor Affecting Performance Efficiency of Immigration Officer: A Case Study of North East Immigration House.Independent Study Globalization. Bangkok: Banpraarthit Printing Office. [in Thai]

Chumnung, C. (1998). Factors Affecting Performance Efficiency of Amphur Educational Office: A Case Study of Educational Region Ten. Independent Study (Master Degree), National Development Institute. [in Thai]

Ekpapan, P. (1993). Factors Affecting Performance Efficiency of Moban Spending Subsidy of Development Volunteer and Self Protection Committee. Independent Study (Master Degree), National Development Institute. [in Thai]

Krisanajecta, S. et al. (2007). Health Rights Human Rights. Nonthaburi: Social Research and Health Offie (SVSS).

Policy and plan office National health. Security Sysem (BE 2555). Universal Coverage Health. SecurityAnnual Report (BE 2554) (First Print). Bangkok: Sahamitprinting and Publishing Co.,Ltd.