การบริหารจัดการสหกิจศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Main Article Content

สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการสหกิจศึกษา วิเคราะห์
กิจกรรมและกระบวนการ บริหารจัดการสหกิจศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษาสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ นิสิตสหกิจศึกษา จำนวน 17 คน คณาจารย์นิเทศก์ จำนวน 3 คน และผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ 17 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา คือ ปิดภาคเรียนก่อนขึ้นชั้นปีที่ 4 โดยปฏิบัติงานต่อเนื่องกันจนครบ 4 เดือนมีการนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง นิสิตสหกิจศึกษาทั้งหมดมีความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานในระดับมาก ผู้นิเทศงานเห็นว่า ความรู้ของนิสิตที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระดับปานกลาง นิสิตสหกิจศึกษาช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระงานในระดับมากและมีความประสงค์ที่จะรับนิสิตจากสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีต่อไป ส่วนปัญหาการบริหารจัดการสหกิจศึกษา พบว่า มีด้านการเตรียมการและการวางแผน ด้านสถานประกอบการ และด้านนิสิตสหกิจศึกษา กิจกรรมสำคัญและกระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนหรือการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงาน (Plan) 2) การปฏิบัติงาน (Do) 3) การติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล (Check) และ 4) การดำเนินการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (Act)

Abstract
This research purposes were to study current status and problems of cooperative education, to analyze the activities and management process of cooperative education; and to develop management system of cooperative education, Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The sample consisted of 17 cooperative students, 3 university supervisors and 17 entrepreneurs. Questionnaires and Interviews were used for data collection; and data were analyzed by using percentages, mean, and content analysis.
The findings showed that the appropriate time for cooperative education is during summer break before entering senior year in four consecutive month and observing once a month from university supervisor. Cooperative students are satisfied with the performance and benefit from the operation at the high level. The university supervisors perceive that knowledge of students from the university benefits to the operational at the moderate level. Cooperative students help and reduce workload at the high level. The entrepreneurs are willing to accept students from Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University in next year.
Problems in Cooperative Education Management were in preparation and planning, entrepreneurs and cooperative students. The key activities and management processes of cooperative education consist of 4 components which are Plan, Do, Check and Act.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2552). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

ศิริพร ทองแก้ว. (2553). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานสหกิจศึกษาของคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การวิจัยแบบผสม.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย ธำรงสุข และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกิจศึกษา หมวดวิชาชีพเฉพาะ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาปิโตรเคมี. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 636-644.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการ, 1(4), 30-36.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. นครราชสีมา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

Peach, D. et al. (2014). Feedback on student performance in the workplace: The role of workplace supervisor. Asia-Pacific Journal of Cooperative Education,15(3), 241-252.

Translated Thai References

Tumrongsuk, S. et al. (2011). The Development Model of Cooperative Education Management in the Major Subjects in the Bachelor’s Degree in Science and Technology Major in Petrochemical. The Journal of KMUTNB,21(3), 636-644. [in Thai]

Sinturavej, S. (1998). The Quality Assurance. Academic Journal, 1(4), 30-36. [in Thai]

Srisa-an, W. (2009). Processing Material of Training Kit in Cooperative Education. Bangkok: Thai Association for Cooperative Education. [in Thai]

Thai Association for Cooperative Education. (2009). Standard and Quality Assurance Operations in cooperative education. Nakhon Ratchasima: Thai Association for Cooperative Education. [in Thai]

Thongkaew, S. (2010). A Study of the Operational Model of Cooperative Education in the Faculty of Technical Education, Rajamagala University of Technology Thanyaburi: Mixed Method Research. Thesis for the Degree of Master Education Program in Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]