การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน
และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งร่วมพัฒนารูปแบบการสอน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดเจตคติ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลพบว่า รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสอน (Teach) การทำกิจกรรมกลุ่ม (Team) การแข่งขัน (Tournament) การทดสอบ (Test) และการสร้างความมั่นใจ (To build confidence) เรียกว่า 5T Model หลังการทดลองนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
ในระดับมาก การปรับปรุงรูปแบบการสอน ในขั้นการแข่งขันอาจต้องใช้กระดาษทด ให้เวลาเขียนตอบแล้วแสดงคำตอบพร้อมกัน ผลการสังเกตพบว่า รูปแบบการสอนช่วยลดความแตกต่างเรื่องเพศและระดับความสามารถของผู้เรียน และขั้นที่ 5 การสร้างความมั่นใจ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเพิ่มขึ้น เพราะทุกคนได้มีโอกาสทบทวนซ้ำ
Abstract
The purposes of this study were to develop and improve a teaching model for learning and enjoying in Mathematics, to study the achievement, and attitude toward mathematics. The participants consisting of pre-service teachers who constructed and improved the model, and using with Grade 6 students from primary school. The instruments were lesson plan, achievement test, attitude test, and focus group. Data were analyzed by t-test, mean, standard deviation, and content analysis. The results found that: Model for learning and enjoying in Mathematics consisted of 5 steps; Teach, Team, Tournament, Test, and to build confidence, are called the “5T Model”. After using the 5T Model, the subjects had significantly achieved in mathematics higher than 60%, and they got high level scores in attitude towards mathematics. For improvement of the 5T Model, it was found that in the step of “Tournament” could be enhanced if participants are allowed to use paper to write the answer simultaneously. Through observation of the teaching process of 5T Model appeared to reduce the difference in gender and abilities of learners. In the step of, “To build confidence” the students reviewed knowledge and more understanding and confidence.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญดาร์ สงดวง. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) ร่วมกับวิธีสอนการแก้ปัญหาแบบเอสเอสซีเอส (SSCS) ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ชนาธิป พรกุล. (2552). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชานนท์ ศรีผ่องงาม. (2549). การพัฒนาชุดการเรียนแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Division: STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิพย์ภาภรณ์ อินทรอักษร. (2554). ผลการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL), วารสารวิชาการ, 2(5), 2-30.
-----------. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นันทชัย นวลสอาด. (2554). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พวงเพ็ญ น้อยอาษา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model). ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณภา สุขสำราญ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค ที จี ที กับวิธีสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). รายงานประจำปี 2556. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2558, จาก http://www.niets.or.th/index.php/aboutus_th/view/14
สุรินทร์ ตันสกุล. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice. (2nd ed.) Boston: Allyn & Bacon.
Translated Thai References
The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai Ltd. [in Thai]
Songdong, K. (2011). The effects of cooperative learning techniques between Team Game Tournament (TGT) and Search Slove Create Share (SSCS) thought ability to solve problems and mathematical creativity of Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai]
Suttirat, C. (2011). 80 Innovations for Child-Centered. (4th ed.). Bangkok: Danex Inter-corporation. [in Thai]
Pornkul, C. (2009). Instruction design, Integration, Reading, Analytical thinking, and writing. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University printing house. [in Thai]
Sripongam, C. (2006). The development of learning pages through student teams achievement division to promote Mathayomsuksa IV students mathematical communication skills on “Real Numbers”. M.Ed. in Secondary Education, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Intraaugsorn, T. (2011). The effects of cooperative learning techniques between Students Teams Achievement Divisions (STAD) and Math games toward to mathematics achievement of Prathomsuksa VI students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai]
Kamanee, T. (1999). Child-Centered:CIPPA MODEL, Academic Journal, 2(5), 2-30. [in Thai]
-----------. (2009). Science of Teaching: Knowledge to the learning process effective. (11th ed.). Bangkok: Dansutha printing. [in Thai]
Nuansa-ard, N. (2011). Instructional activity package on trigonometric ratio by using cooperative learning with STAD technique for Mathayomsuksa IV students. M.Ed. in Secondary Education, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Noiarsa, P. (2010). The effects of learning activity on Mathematics in equation and equation solving for Prathomsuksa IV students by using CIPPA Model. M.Ed. in Education, Mahasarakham University. [in Thai]
Suksamran, W. (2010). A comparison of Mathematical achievement in equation and equation solving between Teams Games Tournament (TGT) and traditional teaching method of Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai]
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2013). Annual Report 2013. Retrieved January, 12, 2015, from http://www.niets.or.th/index.php/aboutus_th/view/14 [in Thai]
Tunsakul, S. (2007). The effects of using CIPPA Model though ability in solving mathematics problem and ability to group working for Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai]
Moonkum, S. & Moonkum, O. (2004). 19 Learning process for develop knowledge and skills. (5th ed.). Bangkok: Pappim. [in Thai]
Jaitinang, A. (2010). Principles of teaching. (5th ed.). Bangkok: Odien Store. [in Thai]