ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ ประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด เห็นว่า ควรจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างยิ่งเพื่อให้นักเรียนจะได้มีทักษะทางภาษาเพิ่มมากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมทางภาษาจีน รวมถึงเพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ควรเริ่มจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในลักษณะวิชาเพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นเนื้อหาทักษะทางภาษา เพื่อการสื่อสาร สอดแทรกสาระเกี่ยวกับท้องถิ่นของเทศบาลนครปากเกร็ด โดยครูผู้สอนควรมีทั้งชาวไทยและชาวจีนที่ผลิตแบบเรียนขึ้นมาใช้เองในท้องถิ่น ส่วนประโยชน์และความคาดหวังต่อการเรียนภาษาจีน คือ ให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาจีน และเมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ควรจะมีการจัดสอบวัดระดับความรู้ด้วยระบบมาตรฐานสากล (HSK) และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด ด้านแนวคิดเชิงนโยบายในการส่งเสริมจัดการเรียนการสอนภาษาจีนควรยึดตามแผนนโยบายจากผู้บริหารสูงสุดในการมอบนโยบาย
การดำเนินการต่างๆ โดยที่เทศบาลควรมีการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเข้าใจและแนวปฏิบัติร่วมกัน ด้านเนื้อหาและรูปแบบ ควรเน้นเรื่องของการนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน เน้นทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร รวมถึงการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่นของเทศบาล ด้านความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนนั้น ควรพัฒนาเป็นแหล่งการศึกษาชั้นดี โดยมีการสนับสนุนงบประมาณและปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้มีการจัดการศึกษาที่เข้มแข็งทางด้านภาษาจีน และการดำเนินงานของเทศบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประสานงานระหว่างสถานศึกษาต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนาต่อยอดให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดด้านภาษาจีนต่อไปได้ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
Abstract
The objectives were to study the needs and guidelines of Chinese teaching and learning in the elementary school in Pakkhet City Municipality through mixed methodology for data collection and data analysis using statistics, percentage, standard deviation and content analysis. The findings revealed that 1) The needs of Chinese teaching and learning in the elementary school in Pakkhet City Municipality - Chinese teaching and learning must be conducted so that the students can gain higher language skills, additional knowledge in Chinese language and be ready to enter AEC. Chinese teaching and learning should be initiated since the children enter their education in Primary 1 as an additional subject. The teaching and learning focus on language skill, communication and local issues about Pakkhet City Municipality. The instructors are both Thai and Chinese who self-produce for local usage. The benefits and the expectations towards Chinese learning are to allow the learners to gain basic Chinese knowledge. When the learners graduate from their Chinese teaching and learning curriculum, HSK-standard assessment tests should be held and; 2) The guidelines of Chinese teaching and learning in elementary school in in Pakkhet City Municipality – In term of policy concepts promoting Chinese teaching and learning, policy plans should be based from the ones enacted by top management. Municipality should have concrete management and clear action plan to create mutual understanding and practices. In terms of content and form, practical usage should be emphasized. Also, language skills should be stressed for communication and content linkage of local curriculum of the municipality. In term of the expectations towards Chinese teaching and learning, it should be developed to be a high-level education source with budget supports and other factors to achieve strong Chinese language management and municipal procedures. Moreover, related parties should cooperate with different educational institutes to improve the learners’ language skills towards higher educational level.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มีสท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.
ประเวศ วะสี. (2532). กรอบของเเนวทางการจัดการศึกษา. วารสารการศึกษาเเห่งชาติ, 24(1), 11-14.
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2548). ระบบภาษาจีนกลาง. วารสารภาษาจีนพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร, 2, 215-330.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). งานบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท.
ศุภชัย ใจแจ้ง. (2552.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนของผู้เรียนสาขาวิเทศธุรกิจจีนและสาขาจีนศึกษา คณะวิเทศศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยจีน. (2557). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/index.php
สถาบันการแปลและส่งเสริมการสอนภาษาจีน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, นโยบายการส่งเสริมการสอนภาษาจีน. (2556). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก http://academic.obec.go.th/web/node/15
สถาบันเอเชียศึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับประถม - มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา.สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. (2557). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558, จาก http://samakomarcheewa.or.th/news_detail.php?news_id=392
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.bic.moe.go.th/
สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท เพลิน สตูดิโอ จำกัด.
โรจน์รวี พจน์พัฒนพล และคณะ. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Translates Thai References
Evaluated Education Affairs, Office of Education Council. (2008). The report of Education administration of Depatment of Local Administration of B.E. 2551. Bangkok: Phloen-studio-co-LTD. [in Thai]
Institute of Asian Studies Chulalongkorn University. (2008). Teaching Chinese in Thailand: Primary and Secondary Education. Bangkok: Chinese Studies Center. [in Thai]
International Relationship affairs, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2014). Retrieved February 2, 2015,from http://www.bic.moe.go.th/ [in Thai]
Jaijeng, S. (2009.) Factors Affecting Learning Chinese of International Business: China and Chinese Studies Studens at the Faculty of International Studies. PSU, Phuket. [in Thai]
Jaiteng, A. (2003). Principles of Teaching. (3rd ed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
Manomaiwibun, P. (2005). “The Mandarin”. Chinese Journal of Communication, 2, 215-330. [in Thai]
Ministry of Education. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Kurusapa Landprao Printing Press. [in Thai]
Potpatanawon, R. et al. (2006). Basic of Psychology. Bangkok: Triper Group. [in Thai]
Ritjaroon, P. (2011). Research Methodology in Social Sciences. (3rd ed.). Bangkok: House of kermyst. [in Thai]
Srisaart, B. (2002). The Basic of Research. (7th ed.).Bangkok:Suveerayasat. [in Thai]
ThaiBiz in China Thailand Business Information Center in China. (2014). Retrieved February 5, 2015, fromhttp://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/index.php [in Thai]
The Association of Private Technological and Vocational Education Colleges of Thailand. The announce Ministry of Education; Policy reform teaching Chinese. (2014). Retrieved March 10, 2015, fromhttp://samakomarcheewa.or.th/news_detail.php?news_id=392 [in Thai]
Translation Institute and Chinese Promotion, Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, The promotion Policy of Teaching Chinese. (2013).Retrieved March 10, 2015, fromhttp://academic.obec.go.th/web/node/15[in Thai]
Vasri, P. (1989). Education administration Frame work. National Education Journal,24(1), 11-14.[in Thai]
Wongnanutarroot, P. (1992). Academic administration. Bangkok: Sahamid offset. [in Thai]