ประสบการณ์ลูกค้าของสมาชิกแสตมป์ไทย ที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อตราสินค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ลูกค้าของสมาชิกแสตมป์ไทย ที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อตราสินค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นสมาชิกแสตมป์ไทย ที่มีบัญชีเคลื่อนไหวจำนวน 400 คน ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์คุณลักษณะประชากร เช่น เพศ อายุ ระยะเวลา ที่เป็นสมาชิกแสตมป์ไทย รายได้ต่อเดือน และสินค้าที่มักสั่งซื้อ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพื่อการพยากรณ์ด้วย Linear Regression และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient of Correlation) รวมถึงรวบรวมข้อเสนอแนะจากสมาชิกแสตมป์ไทย
ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมสมาชิกแสตมป์ไทยได้รับประสบการณ์ที่ดีปานกลาง จากการเป็นสมาชิกแสตมป์ไทย ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และมีความภักดีระดับมากต่อตราสินค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ประสบการณ์ก่อนการซื้อ และประสบการณ์ระหว่างซื้อ มีความสัมพันธ์กับความภักดีของสมาชิกแสตมป์ไทย ประสบการณ์หลังการซื้อแม้ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 แต่มีความสัมพันธ์กับความภักดีของสมาชิกแสตมป์ไทย ข้อเสนอแนะที่สมาชิกแสตมป์ไทยอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด คือ ให้จัดสรรแสตมป์จำหน่าย ณ ที่ทำการไปรษณีย์อย่างเหมาะสมมากขึ้น และ แสตมป์ควรออกตรงวันแรกจำหน่าย
The objective of this research was to study the customer experience of Thai Stamp Members related to Brand Loyalty to Thailand Post Company Limited. The population for this research study was 400 current Thai Stamp members. The collected data was analyzed by using descriptive statistical analysis methods, analyzing, for example, demographics, income and regularly bought items, using percentage, mean, and Standard deviation. The hypotheses were proved by seeking the relationship between dependent and independent factors for linear regression and analyzing the coefficient of correlation, including collecting suggestions from Thai stamp members.
It can be clearly found from the research that Thai stamp members have had good customer experiences in moderation. Thai stamp members very often have loyalty to Thailand Post Company Limited’s brand. It is clearly seen that their brand loyalty can be categorized into customer’s experience. From consideration of the coefficient of correlation, Pre-purchase Experience and Purchase Experience related to brand loyalty and Post – purchase Experience is not statistically significant at the level of 0.05. The two major suggestions from Thai Stamp Members covered the availability of stamps at post offices and that the stamps should be launched on Date of Issue.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2549). กลยุทธ์การบริหารประสบการณ์ของลูกค้า. กรุงเทพฯ: BrandAgebooks.
บุริม โอทกานนท์. (2552). CEM-การตลาดเชิงประสบการณ์. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.php?option=com_content&view=article&id=295:cem-&catid=1:mk-articles&Itemid=11
พัลลภา ปิติสันต์ และคณะ. (2554). การบริหารประสบการณ์ของลูกค้า. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558, จาก www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/qm167_p094-96s.pdf
Davis, S. M., Dunn, M. & Aaker, D. A. (2002). Building the Brand-Driven Business: Operationalize Your Brand to Drive Profitable Growth. USA: Jossey-Bass.
Malik et al. (2013). Importance of Brand Awareness and Brand Loyalty in assessing Purchase. International Journal of Business and Social Science, 4(5), 167-171.
Olivier, R. L. (1999). Whence Consumer Loyalty?. Journal of Marketing, 63, 33-44.
Pike, S. (2007). Destination Marketing Organisation. Retrieved January 8, 2015, from https://books.google.co.th/books?id=6HkPVqxMiMgC&lpg=PA75&ots=WkCilGGdhQ&dq=word-ofmouth%20and%20referral%20brand%20loyalty&pg=PA76#v=onepage&q=word-of mouth%20and%20referral%20brand%20loyalty&f=false
Schmitt, B. C. (2003). Customer Experience Management. Canada: John wiley & Sons.
Slatten, T., Krogh, C. & Connelley, S. (2011). Make it memorable: customer experiences in winter amusement parks. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 5(1), 80-91.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). NY: Harper & Row Publications.
Translated Thai References
Chaengchenkit, C. (2006). Customer experience management. Bangkok: BrandAgebooks. [in Thai]
Otakanon, B. (2009). CEM- Customer experience management. Retrieved February 10, 2015, from http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.php?option=com_content&view=article&id=295:cem-&catid=1:mk-articles&Itemid=11 [in Thai]
Pitison, P. et al. (2011). Customer experience management. Retrieved February 10, 2015, from www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/qm167_p094-96s.pdf [in Thai]