การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในร้านสะดวกซื้อ

Main Article Content

พิชิต ฤทธิ์จรูญ
อภิชา ธานีรัตน์
ปิยนันต์ คล้ายจันทร์
ชมภูนุช พุฒิเนตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อสำหรับนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2) ศึกษาความคิดและพฤติกรรมของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อ 3) ศึกษาคุณลักษณะดีเด่นของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อ 4) ศึกษาแบบปฏิบัติที่ดีที่ทำให้การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาประสบความสำเร็จ 5) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฝึกปฏิบัติงาน และ 6) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อ จำนวน 351 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศก์ เจ้าหน้าที่ฝึกปฏิบัติประจำคณะและนักศึกษาที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงาน จำนวน 85 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อของนักศึกษา 2) แบบประเมินคุณลักษณะนักศึกษาที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อ 3) แบบบันทึกข้อมูลแบบมีโครงสร้าง 4) ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. รูปแบบกระบวนการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้อของแต่ละคณะมีความสอดคล้องกัน สรุปได้เป็น 10 ขั้นตอน  

          2. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการฝึกปฏิบัติงานในร้านสะดวกซื้ออยู่ในระดับดีมากทุกรายการ

          3. ผลการประเมินตนเองของนักศึกษาและการประเมินคุณลักษณะของนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาภายหลังการฝึกปฏิบัติงาน พบว่า มีความสอดคล้องกัน โดยนักศึกษามีคุณลักษณะอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน คือ มีวินัยในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีจิตบริการ มีทักษะการสื่อสาร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

          4. แบบปฏิบัติที่ดีที่ทำให้การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาประสบความสำเร็จ คือ คณะและสาขาวิชามีความพร้อมในเรื่องการสร้างความเข้าใจในระบบการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานให้กับผู้ปกครอง นักศึกษา และคณาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง การดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงาน การนิเทศการฝึกปฏิบัติงาน

          5. การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา มีแนวทาง ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา โดยเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก แรงจูงใจในการฝึกปฏิบัติงาน และการจัดระบบประสานงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) การดำเนินการระหว่างฝึกปฏิบัติงาน โดยนิเทศการฝึกปฏิบัติงาน การกำกับติดตามเป็นระยะและการมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย 3) การดำเนินการหลังฝึกปฏิบัติงาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศก์ และการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ วิธีการฝึกปฏิบัติงาน

 

          This research aims to study: 1) the practice in the convenience store for students, Panyapiwat institute of Management 2) the ideas and behavior of students who passed the training in the convenience store 3) characterization outstanding students who practiced in the convenience store, 4) best practice that makes the practice of students achieved 5) the problems and barriers in practice and 6) giving the presentation of the desirable characteristics of students development. The sample consisted of 351 students from Panyapiwat institute of Management who were trained on practice in the convenience stores The key respondents were advisors, supervisors, Work-based Learning (WBL) program officers and 85 field experienced students. Data collection tools include: 1) questionnaire about the students’ practice in the convenience store 2) evaluation form for the students who practice in the convenience store 3) a record-structured form 4) the conversational group issues. Data analysis was used by percentage, mean, standard deviation and content analysis.

          The research findings indicated that:

          1. The model of practice in each faculty in the convenience stores was in accord. There are 10 key steps need to practice in each semester.

          2. Attitude of students toward WBL in convenience stores was at a high level in every item.

          3. Results of self-assessment of students and advisors evaluated the students after the practice were accordant. Students were very good in seven traits: discipline to work, responsibility, honesty, service mind, communication skills, working with others, and face-to- face problem solving.

          4. A good practice caused the practice of student success - faculty and field of study are ready in the understanding of learning system and practicing to guardians, students and all instructors to have understanding and the concept giving such as the importance of the skills, students will receive from practice to be in the same direction, care and counseling students in their practice including supervising practice.

          5. For the development of the desirable characteristics of students, there are three guideline as follows: 1) The preparation before development by strengthening the positive attitude, understanding and motivation in practice to students including the coordination of the system involved.  2) Actions during training-- supervisory practice, periodic monitoring, a variety of communication channels and 3) The post proceeding after the practice – sharing and learning from WBL experience between students and supervisor resulting further the improvement and development process, including the more effective way to practice.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. (2556). สร้างคนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย.

เทื้อน ทองแก้ว. (2549). การบริหารเพื่อมุ่งคุณภาพอุดมศึกษาไทยในยุคเศรษฐกิจเสรี. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558, จาก http://www.gotoknow.org/posts/285169

พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล. (2558, 16, กุมภาพันธ์). รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.สัมภาษณ์.มติชนออนไลน์. (2548). สมศ.เผยปัญหาอุดมศึกษาไทยมีเพียบ. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2558, จาก http://www.matichon.co.th/inbound-education.php?grpid=&catid=&subcatid=1903

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2558, 10, กุมภาพันธ์). ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์.

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2558). คุณลักษณะนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558, จาก http://www.pim.ac.th/th/pages/mission-vision

สมภพ มานะรังสรรค์. (2558). Work-based Education เรียนจริงทำงานจริงที่ PIM. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2558, จาก http://www.pim.ac.th/th/pages/student-life

สมโรตม์ โกมลวนิช. (2558, 16, กุมภาพันธ์). ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์.

ห้องเรียนแห่งอนาคต. (2558). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2558, จาก http://www.jsfutureclassroom.com/news_detail.php?nid=300

Spencer, L. M. & Spencer, S. M. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: John Wiley & Son.

Translated Thai References

Chairasmisak, K. (2013). Creating Qualified Human Resources. Bangkok: Siam Inter Multimedia. [in Thai]

Classroom for the Future. (2015). 21st Century Learning. Retrieved July 27, 2015, from http://www.jsfutureclassroom.com/news_detail.php?nid=300 [in Thai]

Komolavanij, S. (2015, 16, February). Assistant to the President for Academic Affairs, Panyapiwat Institute of Management. Interviewed. [in Thai]

Manarungsan, S. (2015). Work-based Education: Learning and Actual Work Fields at PIM. Retrieved June 27, 2015, from http://www.pim.ac.th/th/pages/student-life [in Thai]

Matichon Online. (2005). Disclosure from the Office of National Education Standards and Quality Assessment regarding Thai Higher Education Problems. Retrieved June 22, 2015, from http://www.matichon.co.th/inbound-education.php?grpid=&catid=&subcatid=1903 [in Thai]

Panyapiwat Institute of Management. (2015). Desirable Traits of Panyapiwat Institute of Management’s Students. Retrieved June 25, 2015, from http://www.pim.ac.th/th/pages/mission-vision [in Thai]

Patcharintanakul, P. (2015, 16, February). Vice President for Academic Affairs, Panyapiwat Institute of Management. Interviewed. [in Thai]

Royal Thai Government Gazette. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Office of the Prime Minister and Royal Thai Government Gazette. [in Thai]

Suthamanon, L. (2015, 10, February). Assistant to the President for Planning and Development, Panyapiwat Institute of Management. [in Thai]

Thongkeo, T. (2006). Administration for Quality-oriented in Thai Higher Education in the Era of Free Economy. Retrieved June 20, 2015, from http://www.gotoknow.org/posts/285169 [in Thai]