การพัฒนาระบบรับ-ส่ง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ช่วยให้การสืบค้นข้อมูล ติดตาม และตรวจสอบสถานะการรับ-ส่งเอกสารมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น
โดยมีกระบวนการวิจัยตั้งแต่ขั้นตอนของการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบ วิเคราะห์และออกแบบระบบ สร้างระบบฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น ทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ด้วยการจัดอบรม ให้ความรู้ การใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นแก่คณะสงฆ์
จากการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จำนวน 167 รูป พบว่าค่าเฉลี่ยคือ ส่วนระบบรับเอกสาร ได้ค่าเฉลี่ย 4.36 รองลงมาคือ ส่วนระบบส่งเอกสาร ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และการแสดงผลและการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานระบบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.31 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก ทำให้ได้ระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการเอกสารของสำนักงานพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
The objective of this research is to create an electronic document transfer system as a web application that effectively supports the processes of searching, tracking and monitoring of document transfers.
The processes of research include are investigating relevant data in the system, analyzing and designing the system, creating the database system and developing the information technology system in the form of web application via internet network, evaluating the effectiveness of the system and creating a participatory process via training the Buddhist clergy how to use the developed system.
According to the effectiveness evaluation of the system based on a group of samples (167 monks), the results showed the document reception system has an average of the score of 4.36, the submission system has 4.30, the display and information management system for users has 4.28, respectively. The overall average of the effectiveness is 4.31, that indicates highly effective. The developed electronic document transfer system improves the effectiveness of the document management for the clerical Buddhist office in Chiang Mai province, since the document presented in electronic forms.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็นยูเคชั่น. ณัฐฌาน สุพล. (ม.ป.ป.). ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2558, จาก http://courseware.payap.ac.th/docu/sc312/
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐและรพีพร ตันจ้อย. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์,7(ฉบับพิเศษ), 253-260.
โอบกิจ พรสีมา. (2550). โปรแกรมจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
Translated Thai References
Khejaranun, N. (2008). System Analysis and Design.Bangkok: Se-education Publishing. [in Thai]
Pornsrima, O. (2007). Program Administration Electronics Documents. Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University. [in Thai]
Supol, N. (n.d.). Document electronic system. Retrieved October 1, 2015, from http://courseware.payap.ac.th/docu/sc312/ [in Thai]
Yimprasert, U. & Tunjoi, R. (2014). Management Information System (MIS) for Administration in Higher Education Institute as E-Education. Panyapiwat Journal,7(Special Issue), 253-260. [in Thai]