การพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถ ในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

รังสรรค์ หล้าคำจา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านเนื้อหาในการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการทำงาน


กลุ่มทดลองเป็นบุคคลวัยทำงานในองค์กรภาครัฐและเอกชนและผู้ประกอบอาชีพอิสระในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบเป็นระบบ การอบรมใช้เวลาจำนวน 30 ชั่วโมง ครั้งละ 6 ชั่วโมง จำนวน 5 ครั้ง


เครื่องมือที่ใช้การในการทดลอง ได้แก่ 1) สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง 2) ชุดฝึกอบรมทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถาม และ 5) แบบสังเกตการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ 1) ค่าความถี่ 2) ค่าร้อยละ 3) ค่าเฉลี่ย และ 4) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า


1) หลังจากกลุ่มตัวอย่างได้รับการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร ผู้เข้าอบรมมีความสามารถด้านการฟัง-พูดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ผลการสังเกตพฤติกรรมด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชน ระหว่างเข้ารับการอบรมโดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่า ประชาชนมีความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้นตามลำดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 อยู่ในระหว่างน้อย โดยมีค่าเฉลี่ย 2.48 คะแนน ระยะที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.12 คะแนน ระดับที่ 3 และระดับที่ 4 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.63 คะแนน และ 4.20 ตามลำดับ ระดับสุดท้ายคือระดับที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.61 คะแนน


3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผลเฉลี่ยรวมด้านวิทยากร คะแนนเฉลี่ย คือ 4.56 รองลงมาคือ ระยะเวลา สถานที่ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ คะแนนเฉลี่ย คือ 4.46 ด้านการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ คะแนนเฉลี่ย คือ 4.36 และด้านเนื้อหาของหลักสูตรการอบรม คะแนนเฉลี่ย คือ 4.07 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hutchinson, T., & Waters, A. (1987). English for Specific Purposes: A Learning – centered Approach. Cambridge University Press.

Jamjaroen, S. (2016). English Listening and Speaking Skill Development by English Language Activities. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(1), 85-91.

Klein, S.B. (1991). Learning. McGraw –Hill.

Knowles, M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. Cambridge University Press.

Kowtrakul, S. (1996). Education Psychology. Chulalongkorn University Press.

Lertvattrakan, W. (2013). The development of instructional package to practice listening and speaking in English communication with emphasis work for primary 5 Mareewittaya School. [Master’s thesis, Silpakorn University]. Silpakorn University Central Library. Retrieved December 21st, 2021, from http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/12345 6789/7933

Phuliamkam, N., Worakham, P. & Chanthachum, N. (2019). The Development of Listening and Speaking Skills in English for the 3rd Year of Vocation Certificate students at Northeastern Vocational Institute of Agricultural. Journal of Roi Et Rajabhat University. 13(1), 162 – 173.

Richards, J. & Rodgers, T. (1986). Approaches and Methods in Language Teaching. Cambridge University Press.

Rovinelli, R.J. & Hambletan, R.K. (1977). On In Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion-Reference Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Rujichom, K. (2018.) English Communication Life Skills of Thailand People in the 21st Century. Journal of Arts Management, 2(3), 199-210.

Thanakong, K. & Adipattaranan, N. (2017). Using Communicative Language Teaching Activities to Enhance English Listening-Speaking Abilities and Grammatical Knowledge among Undergraduate Students. Journal of Education Naresuan University, 19(4), 51-64.

Viriyachitra et al. (2012). Looking back and moving: Forward of English learning. Bangkok: Window on the world publishing.

Wikipedia. (2019). Learning Theory. Retrieved December 21st, 2021, from https://th.wikipedia. org/wiki/learningtheory