ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความที่ส่งมาให้วารสารฯ พิจารณาไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
-
บทความตรงตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการวารสารฯ กำหนดก่อนส่งบทความเข้าในระบบ Online (รูปแบบที่กำหนด https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/guidelines)
-
แนบไฟล์บทความในรูปแบบของไฟล์ Microsoft word ที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามรูปแบบที่กำหนด
-
แนบไฟล์ในรูปแบบของไฟล์ PDF ที่แปลงจากไฟล์ Microsoft Word โดยไม่แสดงชื่อผู้เขียนบทความ และไม่แสดงสังกัดของผู้เขียนบทความ
-
การอ้างอิง และเอกสารอ้างอิง ให้เขียนอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์ APA Style (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 7 (APA 7th edition) โดยจัดเรียงอ้างอิงตามลำดับอักษร (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://apastyle.apa.org/)
-
ผู้ส่งบทความจะต้องบันทึกข้อมูลผู้แต่งให้ครบทุกคน ดังรายชื่อที่แสดงในบทความ
-
กรณีที่ผู้ส่งบทความ มีความประสงค์ขอถอนหรือยกเลิกการส่งบทความระหว่างการพิจารณาบทความ มีค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 3,600 บาท (สามพันหกร้อยบาทถ้วน) หากท่านไม่ได้ดำเนินการถอนบทความให้ถูกต้อง แล้วนำส่งวารสารอื่นๆ เพื่อพิจารณา อาจจะเข้าข่ายผิดจริยธรรม
-
กรุณาให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่อยู่ที่ติดต่อ (สำหรับส่งเอกสาร) ของท่านไว้ใน ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comment for Editor) และกดบันทึก รวมถึงหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ในช่องทางดังกล่าว
>>> ผู้เขียนสามารถตรวจสอบรายละเอียดของการเตรียมบทความได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/guidelines
>>> ขอให้ส่งบทความต้นฉบับผ่านระบบ Online Submission ที่เว็บไซต์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/about/submissions โดยแนบบทความต้นฉบับจำนวน 2 ไฟล์ ดังนี้
1. ไฟล์ในรูปแบบของไฟล์ Microsoft word ที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามรูปแบบที่กำหนด โดยให้มีเนื้อหา ตาราง และภาพอยู่ในไฟล์เดียวกัน
2. ไฟล์ในรูปแบบของไฟล์ PDF ที่แปลงจากไฟล์ Microsoft Word โดยไม่แสดงชื่อผู้เขียนบทความ และไม่แสดงสังกัดของผู้เขียนบทความ
>>> การพิจารณากลั่นกรองบทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
1. ผู้เขียนต้องเตรียมบทความตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการวารสารฯ กำหนดก่อนส่งบทความเข้าในระบบ Online เมื่อการส่งบทความ (Submissions) ถูกต้องสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนจะได้รับการตอบกลับจากระบบอัติโนมัติ (Auto reply) ผ่านทาง E-mail ของท่านโดยทันที (โดยในบางกรณี อีเมล์แจ้งเตือนจากวารสาร อาจไปอยู่ใน Junk Email)
2. กองบรรณาธิการวารสารฯ จะประเมินความสมบูรณ์และคุณภาพเบื้องต้น (Initial review) ตามนโยบายและคุณภาพของวารสารฯ โดยในขั้นตอนนี้กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
3. กองบรรณาธิการวารสารฯ พิจารณาเห็นควรปฏิเสธบทความ จะแจ้งให้ผู้เขียนได้ทราบโดยเร็ว แต่ถ้าหากทางกองบรรณาธิการวารสารฯ รับบทความไว้พิจารณา จะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความไม่ต่ำกว่า 2 ท่าน โดยในกระบวนการพิจารณาเป็นวิธีการดำเนินงานเป็นวิธีลับ (Double-blind review) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ (Reviewer) ดังนี้
- Accept Submission = รับตีพิมพ์บทความโดยไม่ต้องแก้ไข
- Major Revisions Required = ให้ผู้เขียน (Author) แก้ไข โดยให้บรรณาธิการ (Editor) พิจารณาต่อ
- Minor Revisions Required = ให้ผู้เขียน (Author) แก้ไข โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ขอให้ส่งกลับมาดูอีกครั้ง
- Rejected = ไม่รับตีพิมพ์
4. กองบรรณาธิการวารสารฯ จะตัดสินใจโดยอ้างอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อส่งผลการพิจารณาให้แก่ผู้เขียนบทความมีสถานะแก้ไขก่อนตีพิมพ์หรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์
5. กองบรรณาธิการวารสารฯ ดำเนินการตรวจสอบบทความที่ผ่านการประเมินและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งความถูกต้องของ รูปแบบ การใช้ภาษาและการเขียนอ้างอิง ซึ่งอาจจะส่งบทความให้ผู้เขียนแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารฯ ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารฯ จะตอบรับการตีพิมพ์ลงในวารสารเมื่อบทความผ่านการตรวจการเขียนอ้างอิงเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
6. กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ นอกจากนั้นการยอมรับบทความที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการวารสารฯ และกองบรรณาธิการวารสารฯ จะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
7. การตัดสินของกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
>>>>>>>>>รายละเอียดขั้นตอนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ประกอบด้วย
1. การพิจารณาบทความเบื้องต้น โดยกองบรรณาธิการ ระยะเวลาดำเนินการ เมื่อได้รับบทความจากผู้เสนอบทความ ทางวารสารจะดำเนินการส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้น ก่อนการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิและส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณบทความ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบรูปแบบบทความ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และผลการวิจัย ความชัดเจนของเนื้อหา ความถูกต้องตามหลักวิชาการ รูปแบบการเขียนอ้างอิง รวมถึงความซ้ำ/ซ้ำซ้อนของเนื้อหาในบทความ (Duplications/Plagiarism) หากบทความมีรูปแบบไม่เป็นไปตามกำหนด หรือมีอัตราความซ้ำ/ซ้ำซ้อนสูงกว่าที่วารสารกำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับบทความดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณา การตรวจสอบการซ้ำ/ซ้ำซ้อน (Duplications/Plagiarism) วารสารวิชาการได้กำหนดอัตราการซ้ำ/ซ้ำซ้อน (duplications/plagiarism) ของบทความที่สมัครตีพิมพ์ ให้มีเปอร์เซ็นความซ้ำ/ซ้ำซ้อนไม่เกิน 10 % *การตรวจสอบการซ้ำ/ซ้ำซ้อน ผู้เสนอบทความจะต้องดำเนินการส่งบทความในระบบ Thaijo ก่อน จากนั้นระบบจะดำเนินการตรวจสอบความซ้ำ/ซ้ำซ้อนให้โดยอัตโนมัติ (ใช้เวลาประมาณ 1 วัน)
2. การพิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 1 บทความที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อพิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาจะไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้เสนอบทความ
3. การปรับแก้ไขบทความ เมื่อได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบจำนวนแล้ว ทางวารสารจะดำเนินการส่งผลการพิจารณาให้กับผู้เสนอบทความผ่าน E-mail ซึ่งบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องมีผลการประเมินเป็น “เห็นสมควรให้ตีพิมพ์เผยแพร่” จากผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาทั้งหมด
4. การพิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 2 บทความที่ผ่านการปรับแก้ไขแล้ว กองบรรณาธิการจะนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความอีกครั้ง
5.การพิจารณความสมบูรณ์ของบทความหลังจากผู้เสนอบทความปรับแก้ไข โดยบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ เมื่อผู้เสนอบทความปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ทางบรรณาธิการและกองบรณณาธิการโดยจะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของบทความ และความครบถ้วนของการแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมรายละเอียดของเนื้อหาและเอกสารอ้างอิง
6. การออกใบตอบรับ และการตีพิมพ์บทความ เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความแล้ว และเห็นสมควรให้ออกใบตอบรับและตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ทางวารสารจะดำเนินการออกใบตอบรับ และนำบทความตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็ปไซต์ของวารสารต่อไป
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น