ความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ;Nakhon Pathom Rajabhat University Staff’s Satisfaction toward Provident Fund ProjectKnowledge Management of Field TrainHealth Students
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพนักงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 275 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test, ค่า One Way ANOVA
ผลจากการวิจัยพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด จำนวนปีที่ทำงาน รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่เพศ สถานภาพ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ต่างกัน และ พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research aims to study Nakhon Pathom Rajabhat University staff’s satisfaction toward provident fund project and to compare Nakhon Pathom Rajabhat University staff’s satisfaction toward provident fund project by personal factors and knowledge of provident fund project. The samples were 275 Nakhon Pathom Rajabhat University staff. A questionnaire was used to collect data. The descriptive statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and inferential statistics were the t-test, One Way ANOVA.
The research results indicated that the majority of the respondents had knowledge on the provident fund project at high level. In terms of the overall satisfaction toward the provident fund project, the majority of the respondents were moderately satisfied with the project. The hypotheses test found that the respondents who had different ages, education levels, working years, monthly income salary had different satisfaction toward provident fund project at the statistic significance of 0.05. On the other hand, the respondents who had different gender, marital status and monthly expense had no different satisfaction toward provident fund project. In addition, the respondents who had different knowledge of provident fund project had different satisfaction toward the provident fund project at statistical significance of 0.05.
Article Details
Every article published in the Romphruek Journal of the Humanities and Social Sciences is the opinion and point of view of the authors. Thery're not the viewpoint of Krirk University or the editored department. Any part or all of the articles for pablication must be clearly cited.