ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

Main Article Content

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์
อาจารีย์ ประจวบเหมาะ
ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์
ธารทิพย์ พจน์สุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะ 2) ศึกษาระดับการให้บริการงานบริการสาธารณะ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการงานบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านที่ได้คะแนนต่ำที่สุดคือ ด้านการให้บริการที่ตรงต่อเวลา ระดับการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย และ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทุกด้าน มีความสัมพันธ์ต่อการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ชาญธิวัฒน์ กิจสวัสดิ์ และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 338-353.

นันทกา สายสวาท ภฤดา กาญจนพายัพ ปรีดา วานิชภูมิ ปิยวัฒน์ เมืองธรรม และ ธนันท์ธร สิริพัชรรง์กูร. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน้อ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(3), 262-269.

บัญชา เกิดมณี สุรชัย ธรรมทวีธิกุล ญานพินิจ วชิรสุรงค์ บดินทร์ชาติ สุขบท และ สมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 20(1), 1-12.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ประยูร กาญจนดุล. (2554). คำบรรยายกฎหมายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 215-227.

พรรณเพ็ญแข โฉมอ่อน. (2564). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลไทรงาม อำเภอไทรงามจังหวัดกำแพงเพชร.วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(3), 565-580.

รัฐกิจ หิมะคุณ. (2557). การบริหารจัดการกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17(12), 151-164.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่40 ก, น. 19-20, 67-70.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). นโยบายสาธารณะไทยกำเนิดพัฒนาการและสถานภาพของศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท จุดทอง จำกัด.

สมศักดิ์ แสงเจริญรัตน์.(2559). คุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ เทศบาลในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(1), 68–79.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560.วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 14(2), 153-173.

สุพัณณดา ภาราม. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนจากการชำระภาษีบำรุงท้องที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพมงคล อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

เสาวลักษณ์ ดีมั่น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

Md. Zobayer Hossain & Tasnuva Yasmin. (2022). Factors affecting public sector innovation during COVID-19 pandemic in Bangladesh: an analysis on three cases. International Review of Public Administration, 27(1), 1-14.

Yamane, Taro. (1973). Introductory Analysis. 3rded. Tokyo : Harper International edition.