แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริกัญญา บุญศิริ
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยแรงจูงใจและขวัญและกําลังใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน
ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน
ของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน)
ศูนย์กรุงเทพมหานครโดยใช้การสุ่มตัวอย่างจํานวน 195 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way-ANOVA) และการวิเคราะห์
สหสัมพันธ์แบบ Regression
ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 195 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง อายุ 36-45 ปี การศึกษาระดับปริญญา
ตรี รายได้ประจําต่อเดือน ต่ํากว่า 20,000 บาท สถานภาพโสด และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่ํากว่า 5 ปี ระดับแรงจูงใจที่มี
ผลต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการพบว่า ปัจจัยจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ด้านที่มีระดับความสําคัญมากประกอบด้วย ด้านความสําเร็จของงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะ
ของงานที่ทํา ด้านการได้การยอมรับนับถือ ด้านก้าวหน้าในอาชีพ ส่วนปัจจัยค้ําจุน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่าด้านที่มีระดับความสําคัญมากประกอบด้วย ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงของงาน
ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ส่วนด้านนโยบายและการบริหารงานด้านวิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชาและด้านเงินเดือน
อยู่ในระดับปานกลาง ระดับขวัญและกําลังใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจาณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
เรียงตามลําดับความสําคัญ คือ ด้านเจตคติในการปฏิบัติงานด้านความผูกพัน ด้านความสามัคคี และผลการทดสอบสมมติฐาน
พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อ
ระดับขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกําลังใจของพนักงานระดับปฏิบัติการประกอบด้วยด้านลักษณะของงานที่ทํา ด้านความรับผิดชอบ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มีค่า Sig เท่ากับ 0.022 0.028 0.028
ตามลําดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัญญา ชัยวัฒนาพานิช. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทกรีนเดลี่ ฟู้ดส์ จํากัด.
วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปริชาติ บุญโญรส. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกําลังใจในการทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารกสิกรไทย จํากัด
(มหาชน) ในเขต 32. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พลิทธิ์ เรียบร้อย. (2553). ขวัญและกําลังใจของพนักงานกะฝ่ายผลิตโอเลฟินส์ บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชน).
การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อนุตร์ พูลพัฒนา. (2554). ขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มาเล่ย์ เอ็นจิ่น คอมโพเน็น (ประเทศไทย)
จํากัด. สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ยศวัจน์ พยุงผลชัยสาร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย
จํากัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558. มหาวิทยาลัยราช
ภัฏลําปาง ลําปาง.

สุชาดา นิล ผาย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกาลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตําบลในอําเภอเมืองหนองคาย.
วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 11 ฉบับที่ 54 กรกฎาคม – ธันวาคม 2557. มหาวิทยาลัยราช
ภัฏสกลนคร สกลนคร.
เอกพงษ์ ณรงค์ศักดิ์. (2559). ปัจจัยการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสําเร็จรูปในเขตอําเภอ
เมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559.

Davis and Keith. (1981). Human Behavior at Work: Organization Behavior, 11th ed. New York, NY:McGraw-
Hill.

Davis and Ralph C. (1951). Fundamentals to top management, 6th ed. New York, NY:McGraw-Hill.

Herzberg and Frederick. (1959). The Motivation to work. 6th ed. New York, NY: John Wiley and Sons.

Flippo and Edwin B. (1971). Principle of personnel. 11th ed. New York, NY: McGraw-Hill.