การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ตําบลกุดสระ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ตําบลกุดสระ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชานนท์ เศรษฐแสงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
วัดธาตุสว่างโนนยาง ตําบลกุดสระ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม
ของชุมชน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนน ปีการศึกษา 2558 จํานวน 52 คน เครื่องมือ
แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามวิธีของ Likert Scale ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยางตําบลกุดสระ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีส่วนร่วมสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการ
ประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ส่วนด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมต่ําสุด คือ ด้านการมีส่วน
ร่วมในการตัดสินใจ 2) การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีอายุต่างกัน
และมีตําแหน่งในชุมชนต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน 3.1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พบว่า ข้อที่มีการเสนอแนวทางสูงสุด คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการปรึกษา
และพิจารณาโครงการต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหาต่อการพัฒนาศูนย์ฯ รองลงมา คือชุมชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น
คัดค้าน หรือโต้แย้งอย่างมีเหตุผลเมื่อคณะกรรมการชุมชนตัดสินใจเลือกโครงการที่ไม่ตรงกับการพัฒนาศูนย์ฯ ส่วนข้อที่มีการ
เสนอแนวทางต่ําสุด คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่างๆ ในชุมชน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจคัดเลือก
กิจกรรมหรือโครงการที่เหมาะสมสําหรับการพัฒนาศูนย์ฯ 3.2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน พบว่า ข้อที่มีการเสนอ
แนวทางสูงสุด คือชุมชนควรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการในการดําเนินกิจกรรมพัฒนาศูนย์ฯรองลงมา คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมหรือดําเนินงานตามแผนงานการพัฒนาศูนย์ฯ ส่วนข้อทีมีการเสนอแนวทางต่ําสุดคือ ชุมชนควรมีส่วน
ร่วมในการกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง 3.3) ด้านการมีส่วนร่วมใน
การรับผลประโยชน์ พบว่า ข้อที่มีการเสนอแนวทางสูงสุด คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมเนินกิจกรรมของชุมชนที่ทําให้มีการ
พบปะสังสรรค์สร้างความสามัคคีในศูนย์ฯ มากขึ้น รองลงมา คือ ชุมชนควรมีการแสดงความยินดีและภาคภูมิใจเมื่อโครงการต่าง
ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยางส่วนข้อที่มีการเสนอแนวทางต่ําสุด คือชุมชน ควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนามากขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 3.4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล พบว่า
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยางข้อที่มีการ
เสนอแนะสูงสุด คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ หรือคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็ก
เล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ในงานประชุมผู้ปกครองศูนย์ฯเพื่อปรับปรุงกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ให้ความเหมาะสม
รองลงมา คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการติดตามดูผลงาน และสภาพปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานการพัฒนาศูนย์ฯ ส่วนข้อที่
มีการเสนอแนวทางต่ําสุด คือ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเพื่อเตรียมการประเมินผลการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
วัดธาตุสว่างโนนยาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย2546(สําหรับเด็กอายุ 3–5 ปี).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ครุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2547). มาตรฐานการดําเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

เกรียงศักดิ์ โชติจรุงเกียรติ์. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตอําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล.ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558.

จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์กาบริหารส่วนตําบลหนองแสงใหญ่ อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ท้องถิ่นบัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นุสรา พันธรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาพื้นที่ตําบลคลองจุกกระเฌอ อําเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประกาศิต ฐิติปริทวิกร. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนบ้านคลองใหม่ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา : การสร้าง
ทฤษฎี จากฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วชิราวรรณ นิลเกตุ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านเดื่อ
อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2553). คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน: คู่มือการจัดการสร้างความปรองดองในระบบบริการสาธารณสุข. ขอนแก่น:ศิริ
ภัณฑ์ออฟเซ็ท.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตําบลทับไทร อําเภอโป่งน้ําร้อน
จังหวัดจันทบุรี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง. (2558). รายงานการประเมินตนเอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ประจําปี
2558. อุดรธานี : เอกสารอัดสําเนา.