ความรู้ สถานการณ์ยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน ในชุมชนโนนชัยตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ความรู้ สถานการณ์ยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน ในชุมชนโนนชัยตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้และสถานการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดของเยาวชนในชุมชนโนนชัย ตําบลใน
เมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเยาวชนในชุมชนโนนชัย ตําบลในเมือง อําเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเทศบาลนครขอนแก่น ตําบลในเมือง อําเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 12 – 25 ปี
ที่มีภูมิลําเนาอยู่ในชุมชนโนนชัย ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผลการศึกษาพบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องยาเสพติดโดยได้รับความรู้จากโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน
สถานการณ์ด้านยาเสพติด ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่า ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน ถึงแม้เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่จะมี
ความรู้ความเข้าใจถึงโทษของยาเสพติด บ่อยครั้งผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก็ยังเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ในด้านการ
ป้องกันเยาวชนในชุมชนโนนชัยให้ความสําคัญกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด โดยมีวิธีการป้องกัน ได้แก่ 1) การเริ่มต้นจาก
การมีสติและยับยั้งตนเอง 2) การใช้เวลาส่วนใหญ่ร่วมกับคนในครอบครัวและมีกิจกรรมร่วมกัน 3) การพัฒนาตนเองโดยการออก
กําลังกาย 4) การเลือกคบเพื่อนที่ไม่มีพฤติกรรมใช้ยาเสพติด และ 5) การเลือกเข้ากลุ่มเพื่อน ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ คือ
การส่งเสริมให้เยาวชนรู้คุณค่าของตนเอง และการให้ความสําคัญกับบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองในการให้ความอบอุ่นและใกล้ชิด
บุตรหลาน สําหรับชุมชนควรมีการเฝ้าระวัง การสุ่มตรวจยาเสพติดเป็นระยะ รวมทั้งการกําจัดพื้นที่เสี่ยงในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
เยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา,
10(2), 116 – 124.
กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติด. (2554).
คู่มือประกอบการใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ: กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2533). ลักษณะของยาเสพติด. กรุงเทพฯ. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติด.
เจริญ แฉกพิมาย และปนดัดา ศรีธนสาร. (2555). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นเรนทร์ ตุนทกิจ. (2558). การป้องกันยาเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษา: กรณีศึกษาโครงการเยาวชนอาสาพลัง
แผ่นดินตําบลตะพง อําเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยสังคม, 38(2), 113-146.
นฤมล ศิริวิพฤกษ์ และ นันทนา เลิศประสบสุข. (2561). พฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของประชาชนในตําบลตลาดกระทุ่ม
แบน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 367 – 378.
ณิชธร ปูรณะปัญญา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
เทศบาลนครขอนแก่น. (2561). ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ปี พ.ศ. 2561. สิบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561, จาก
https://center.kkmuni.go.th/images/ data/ datapublic/basic-data/chairman-community-list.pdf
บรรลือศักดิ์ ม่วงนาค. (2557). การแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตําบล
บางโฉลง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 7(34), 15 – 30.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกําหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan ในการวิจัยเชิงปริมาณ.
วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, กรกฎาคม – ธันวาคม 2557, 112 – 120.
ยอดชาย ภูพานไร่. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่อําเภอห้วย
เม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วีระยุทธ สุโขยะชัย. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้นําชุมชนต่อการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและสถานการณ์การช้าเสพติดของชุมชน
ในเขตตําบลเมือง อําเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 11(37), 90 – 99.
วงศ์นริศ คงรอด. (2554). พฤติกรรมศาสตร์ สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. สหประชาพาณิชย์.
ศูนย์การต่อสู้เพื่อชนะยาเสพติด กรมสามัญศึกษา. (2546). ศูนย์การต่อสู้เพื่อชนะยาเสพติด. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สํานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). ยาเสพติดในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
https://sites.google.com/site/nipharat36/home.
สํานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2559). สถานการณ์ยาเสพติดและแนวโน้มประกอบการพัฒนายุทธศาสตร์การ
ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
อรวรรณ หุ่นดี. (2531). ยาและสิ่งเสพติดให้โทษ. กรุงเทพ. อักษรบัณฑิต.
อัญชลี โตเอี่ยม ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา ณัฐกมล ชาญสาธิตพร และกนษิฐา จํารูญูสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยทํานายสารเสพแอมเฟ
ตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 88-10.