การออกแบบเกมดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบและพัฒนาเกมต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายประกอบกัน ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ การศึกษาความต้องการของมนุษย์ การนำเข้าสู่โปรแกรมเพื่อทำให้สิ่งที่ออกแบบสามารถทำงานได้ การพัฒนาเกมจะประยุกต์ใช้แนวคิดในการออกแบบเกมซึ่งประกอบด้วย ออกแบบจากนวัตกรรม ออกแบบจากความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบจากการเลียนแบบ ออกแบบจากเรื่องราวหรือเนื้อหาของเกม ออกแบบตามความต้องการ ออกแบบจากข้อจำกัด โดยประเภทของเกมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ แบ่งตามลักษณะการแสดงผล ได้แก่ เกม 2 มิติ เกม 3 มิติ และแบบผสม แบ่งตามวิธีการเล่น ได้แก่ เกมต่อสู้ เกมต่อสู้พื้นฐาน เกมศิลปะการต่อสู้ เกมยิง เกมผจญภัย เกมสวมบทบาท เกมการจำลอง เกมปริศนา เกมกีฬา เกมอาเขด ปาร์ตี้เกม เกมดนตรี และเกมการศึกษา
ในอุตสาหกรรมการออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อให้ได้รับความนิยมจากผู้เล่นต้องอาศัยคณะทำงานนักออกแบบเกมจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการออกแบบหรือผู้อำนวยการสร้าง หัวหน้านักออกแบบ นักออกแบบเนื้อหาเกม นักออกแบบระบบ นักออกแบบระดับเกม นักออกแบบทางเทคนิค นักออกแบบเสียง และนักทดสอบเกม โดยมีขั้นตอนการพัฒนา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การเขียนเอกสารการออกแบบเกม ขั้นตอนที่ 3 การเข้าสู่โปรแกรม ขั้นตอนที่ 4 การสร้างวัตถุในเกม ขั้นตอนที่ 5 เตรียมความพร้อมเกม ขั้นตอนที่ 6 การทดสอบเกม และขั้นตอนที่ 7 การเผยแพร่เกม
เมื่อออกแบบและพัฒนาเกมเสร็จสมบูรณ์พร้อมนำออกเผื่อแพร่ ต้องได้รับการจัดระดับเกม ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สัญลักษณ์เพื่อใช้แนะนำความเหมาะสมของอายุผู้เล่นเกม และส่วนที่ 2 ข้อความที่ชี้บ่งถึงองค์ประกอบและเนื้อหาภายในเกม เพื่อกำหนดมาตรฐานการจัดระดับกลุ่มผู้เล่นให้เหมาะสมกับเกมก่อนนำไปจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ณัฐณิชา จันทร์เรือง, พงษ์พิพัฒน์ สายทอง และคชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2557). รูปแบบเกมคอมพิวเตอร์ 2 มิติ เพื่อฝึกทักษะความจำสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(1), 52-58.
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2562). การผลิตสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2562. หน้า 376.
เพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต. (2554). การออกแบบเกม. คุยเรื่องเกม. Games Designer. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 จาก https://thmb.wordpress.com/
ศรินยา ขัติยะ. (2560). ประเภทของเกม. สื่อการสอน. การศึกษา. โครงการ ThaiMOOC (thaimooc.org). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 จาก https://www.youtube.com/watch?v=iYy_BIix6c4
Entertainment Software Rating Board. (2019). Rating categories suggest age appropriateness. Rating. Categories. Ratings Gide. (Online). Available: https://www.esrb.org/ratings-guide/ Retrieved September 17, 2019
Hurley, L. (2017). How to make a videogame (With no experience). Popular. Gamesradar. (Online). Available: https://www.gamesradar.com/how-to-make-a-videogame-with-no-experience/ Retrieved September 4, 2019
Marsden, J. (2013). Designing an awesome video game. Blogs. Gamasutra. (Online). Available: https://www.gamesradar.com/how-to-make-a-videogame-with-no-experience/ Retrieved September 4, 2019
Online School Center. (2018). What are the different types of game designers?. (Online). Available: https://www.onlineschoolscenter.com/types-game-designers/ Retrieved May 28, 2019
Romero, B. (2008). Creating a game design document. Applied Game Design. (Online). Available: https://bbrathwaite.wordpress.com/2008/11/30/creating-a-game-design-document/ Retrieved September 4, 2019
Technopedia. (2018). Level design. Development. (Online). Available: https://www.techopedia.com/definition/88/level-design Retrieved July 19, 2019
Wide, T. (2016). How level design make us feel smart. Popular. PC Gamer. (Online). Available: https://www.pcgamer.com/how-level-designers-make-us-feelsmart/ Retrieved May 28, 2019